หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กระวานไทยเพื่อสุขภาพ

กระวาน(Thai Cardamom หรือ Kravanh)


ชื่อวงศ์(Family name) : Zingiberaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum kravanh Pierre ex Gagnep.

กระวานเป็นเครื่องเทศที่เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยบางชนิด เช่น ลาบของทางเหนือ แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ และ แกงพแนงของทางใต้ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเครื่องเทศสำหรับทำพะโล้

กระวานไทยเป็นที่รู้จักดีในต่างประเทศ พอๆกับ กระวานจากอินเดีย และอินโดนีเซีย โดยชาวยุโรปรู้จักกระวานไทยมาตั้งแต่คริสต์วรรษที่ 17 โดยสรรพคุณทางยาของกระวานเป็นที่ยอมรับของหลายภูมิภาค เช่นทางยุโรปได้มีการบรรจุเข้าไปอยู่ในตำรายา French Codex และ Dublin Pharmacopeia ส่วนทางประเทศจีนก็เข้าไปอยู่ในตำรายาแผนโบราณเช่นกัน

ในประเทศไทยพื้นที่เพาะปลูกกระวานที่สำคัญคือ จังหวัดจันทบุรี และตราด

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในกระวาน


น้ำมันหอมระเหยได้แก่ ยูคาลิปตอล (Eucalyptol) (เช่น cineol) แอลฟา-เทอร์พีนีออล (a-terpineol) และ เทอปินิลอะซีเตต (Terpinyl acetate)(1)

ไดเตอร์ปีนเปอร์ออกไซด์(Diterpene peroxide)(2)

ไดแอริลเฮปทานอยด์(Diarylheptanoids) ได้แก่ กระวานฮอลเอ(Kravanhol A) และ กระวานฮอลบี(Kravanhol B)(3)

เตตระไซคลิกไดเตอร์ปินอยด์(Tetracyclic diterpinoids) ได้แก่ กระวานฮินเอ-ดี (Kravanhin A-D)(4)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค


ต้านเชื้อไข้มาเลเรีย


สารประกอบเตอร์ปีนในกระวานมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อไข้มาเลเรียได้ดีมาก(2)

ต้านอักเสบ


สารประกอบในกระวานมีคุณสมบัติในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์โดยเซลล์ภูมิคุ้มกัน(3) ซึ่งไนตริกออกไซด์นี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการอักเสบ

ต้านมะเร็ง


มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งตับ(5)

ต้านเบาหวาน


โดยสารสกัดน้ำ-เอทานอลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยมีผลกระตุ้นการดูดกลับของกลูโคส และเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน(8)

บรรเทาอาการปวดเกร็งท้อง


น้ำมันหอมระเหย สารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ 1:1 สารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอล มีผลลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ซึ่งพบว่าสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ cineole (8)

การศึกษาความเป็นพิษ


เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย โดยพิษเฉียบอยู่ที่ปริมาณเมล็ดกระวาน 43 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ส่วนการป้อนด้วยสารสกัด diluted alcohol : glycerol (95:5) ในขนาดความเข้มข้นของสารสกัด 0.5 ก./มล. ในปริมาณ 2 มก./กก./วน นาน 30 วันไม่พบความผิดปรกติ(7)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ


การแพทย์แผนจีน


สรรพคุณ รสเผ็ด อุน มีฤทธิ์สลายความชื้น ทําใหชี่หมุนเวียน แกอาการจุกเสียด แนนลิ้นป เบื่ออาหารและมีฤทธิ์ใหความอบอุนแกกระเพาะอาหารและลําไสแกอาเจียน(6)

วิธีใช้ ใช้ปริมาณ 3-6 กรัม ต้มกรองเอาน้ำดื่ม(6)

การแพทย์แผนไทย


สรรพคุณ รสเผ็ดรอนหอม ใชแกอาการทองอืด ทองเฟอ และแนนจุกเสียด เปนยาขับ เสมหะบํารุงธาตุกระจายเลือดและลมใหซานผสมยาถายอื่นๆ ปองกันไมใหจุกเสียดและไซทอง(6)

วิธีใช้ ใชผลแกจัดบดเปนผงรับประทานครั้งละ 1.5-3 ชอนชา (1-2 กรัม) ชงกับน้ำอุน หรือนํามาแชในแอลกอฮอลได น้ำยาสีแดง

เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาไทย คือ พิกัดตรีธาตุ ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้

ที่มา


1. พีระศักดิ์ เจริญตรา. (2538). การศึกษาองค์ประกอบในลูกกระวานไทย. โครงการพิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์.

2. Kamchonwongpaisan, S., Nilanonta, C., Tarnchompoo, B., Thebtaranonth, C., Thebtaranonth, Y., Yuthavong, Y., ... & Clardy, J. (1995). An antimalarial peroxide from< i> Amomum krervanh</i> Pierre. Tetrahedron letters, 36(11), 1821-1824.

3. Yin, H., Luo, J. G., & Kong, L. Y. (2013). Diarylheptanoids from the fruits of< i> Amomum kravanh</i> and their inhibitory activities of nitric oxide production.Phytochemistry Letters.

4. Yin, H., Luo, J. G., & Kong, L. Y. (2013). Tetracyclic Diterpenoids with Isomerized Isospongian Skeleton and Labdane Diterpenoids from the Fruits of Amomum kravanh. Journal of natural products, 76(2), 237-242.

5. Lu, C. L., Zhao, H. Y., & Jiang, J. G. (2013). Evaluation of multi-activities of 14 edible species from Zingiberaceae. International Journal of Food Sciences and Nutrition, 64(1), 28-35.

6. สถาบันการแพทย์ไทยจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. คู่มือการใช้สมุนไพรไทยจีน. กระวาน(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://tcm.dtam.moph.go.th/images/stories/doukou1.pdf

7. สมใจ นครชัย, ยุวดี วงษ์กระจ่าง, ปราณี ใจอาจ, พิสมัย ทิพย์ธนทรัพย์, ปัญญา เต็มเจริญ. (2538). พิษวิทยาของเมล็ดกระวานไทย. วารสารสมุนไพร 2 (1) : 7-11.

ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล. (2010). กระวานไทย(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=11

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สมอเทศเพื่อสุขภาพ

สมอเทศ(Arjuna)

ชื่อวงศ์(Family name) : Combretaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia arjuna Roxb.
เป็นพืชที่ปลูกมากในอินเดีย และศรีลังกา

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในสมอเทศ

ไกลโคซัยด์(Glycoside)(1)
ฟลาโวนอยด์(Flavonoids) ได้แก่ ลูทีโอลิน(Lutolin)(1)

การนำไปใช้ในแพทย์แผนโบราณ

มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ,ขับเสมหะ,ขับลม,รู้ปิดรู้ถ่ายเอง และ ช่วยในระบบย่อยอาหาร(1)
เป็นหนึ่งในพิกัดจตุผลาธิกะ และพิกัดตรีสมอ

พิกัดจตุผลาธิกะ

เป็นตำรับที่มีพื้นฐานจากตรีผลา แต่เพิ่มสมอเทศเข้าไปอีกตัว ซึ่งจุตผลาธิกะแปลความได้ว่า ผลไม้ที่มีคุณทั้ง 4 ซึ่งประกอบไปด้วย มะขามป้อม สมอไทย สมอภิเภก และสมอเทศ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตรีผลา+สมอเทศนั้นเอง

สรรพคุณ แก้เสมหะ ถ่ายไข้ แก้ลมพิการ แก้โรคตา บำรุงธาตุ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจตุผลาธิกะ
จากการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มารับบริการตรวจเลือดสด(Live blood analysis) โดยทำการคัดเลือกมา 40 ราย และแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 3 กลุ่มคือ รับประทานใบมะยมสด 10 ราย รับประทานน้ำสมุนไพรสูตรจุตผลาธิกะ 20 ราย และควบคุมอาหารอีก 10 ราย เป็นเวลา 1 เดือน พบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำสมุนไพร และใบมะยมมีผลเลือดที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน คือเลือดมีการเกาะตัวกันลดลง มีการขนส่งออกซิเจน และสารอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งอาจป้องกันความเสื่อมของหลอดเลือดได้(2)

พิกัดตรีสมอ

คือพิกัดที่มีการจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่าง อันได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก และ สมอเทศ

สรรพคุณ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ผายธาตุ ช่วยในการขับถ่าย และแก้ท้องเสีย

ที่มา


  1. Dwivedi, S. (2007). < i> Terminalia arjuna</i> Wight & Arn.—A useful drug for cardiovascular disorders. Journal of Ethnopharmacology, 114(2), 114-129.
  2. ลักขณา ยศศักดิ์ศรี, อารีรัตน์ นวลแย้ม, วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์.(2550). รายงานผลเบื้องต้นของนวัตกรรมใหม่การดูแลสุขภาพด้วยจตุผลาธิกะ และใบมะยมสด. วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. 5:104