หญ้าคา หรือ ไป่เหมาเกิน (Blady Grass, Cogon Grass)
ชื่อวงศ์ Poaceae หรือ Gramineae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Imperata cylindrica (L.)
P.Beauv
หญ้าคาเป็นวัชพืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชีย
และสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งสร้างปัญหาให้กับพื้นที่เพาะปลูกเป็นอย่างมากโดยติดอันดับ
1 ใน 10 ของวัชพืชที่แย่ที่สุดของโลก
แต่หญ้าคาก็พอมีประโยชน์อยู่บ้างโดยสามารถนำไปมุงหลังคาได้เช่นเดียวกับใบจาก
ซึ่งจะพบได้ตามบ้านที่อยู่ในพื้นที่ชนบทในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คนส่วนใหญ่จะรู้จักหญ้าคาว่าเป็นวัชพืชที่ต้องกำจัด
แต่จริงๆแล้วหญ้าคาจัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกันที่มีการนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
โดยส่วนที่นิยมนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพรคือส่วนราก
ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงคุณประโยชน์ของรากหญ้าคา
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในรากหญ้าคา
รากหญ้าคา Photo CR: http://medicineplants.blogspot.com/ 2012/03/imperata-cylindrica.html |
สารประกอบฟินอลิก (phenolic
compounds)(1-4), โครโมน (chrmones)(5,6), ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid)(7), เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids)(8), โพลีแซคคาไรด์(9)
คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันรักษาโรค
ต้านอักเสบ
สารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า ไซลินดอลเอ (cylindol A) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส (5-lipoxygenase)(2) ซึ่งจะลดการสลายกรดไขมันอะแรกชิโดนิก (arachidonic acid) ที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารก่ออักเสบ
ต้านเลือดเหนียว
สารประกอบฟินอลิกที่มืชื่อว่า อิมพีรานีน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด(3)
ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต
สารประกอบฟินอลิกในกลุ่มลิกแนนที่มีชื่อว่า (graminone B) และเซสควิทเตอร์ปินอยด์ที่ชื่อว่าไซลินดรีน (cylindrene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด (vasodilative activity) โดยพบว่าสามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่าย(4,8) ซึ่งคุณสมบัตินี้มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต
ดั่งเช่นที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าคาสามารถลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้(10)
ปกป้องเซลล์สมอง
สารโครโมนที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ(5)
เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน
โพลีแซคคาไรด์ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน(9)
ต้านจุลชีพ
มีการศึกษาสารสกัดจากใบและรากของหญ้าคาพบว่าสารที่สกัดได้ทั้งจากใบ
และรากของหญ้าคามีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งได้แก่
แบคทีเรีย B. subtilis, P aeruginosa, E. coli, S. aureus และ ยีสต์ C. albicans(11)
การศึกษาความเป็นพิษ
ไม่พบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากรากหญ้าคาในการป้อนทางปากหนูขาว(ตัวผู้
5 และตัวเมีย 5)ในปริมาณ 5000 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
และไม่พบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังในการป้อนทางปากหนูขาว(ตัวผู้ 10
และตัวเมีย 10) ในปริมาณ 300, 600 และ 900 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เป็นระยะเวลา
90 วัน(12)
การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
มีใช้ในการแพทย์แผนโบรารณในประเทศแถบเอเชียได้แก่ จีน อินเดีย
ศรีลังกา ซาอุดิอาราเบีย เวียดนาม และไทย(13-16)
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด
ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา ไอ อาเจียน
ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน และขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม(17)
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยคือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน
กระหายน้ำ แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร(17)
การนำไปใข้
การแพทย์แผนจีน ใช้ 9-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม(17)
การแพทย์แผนไทย ใช้ 1 กำมือ (สด 40-50 กรัม หรือ แห้ง
10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1
ถ้วยชา(75 มล.)(17)
ในประเทศศรีลังกามีการใช้รากหญ้าคา 60 กรัม ต้มในน้ำปริมาณ 1920
มล. เคี่ยวจนเหลือปริมาณน้ำ 240 มล. ใช้ดื่มรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด (dysuria) และภาวะมีประจำเดือนมากผิดปรกติ (menorrhagia)(14)
ส่วนใหญ่ในการแพทย์แผนโบราณของประเทศต่างๆมีความเชื่อว่ารากหญ้าคามีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ
แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีงานวิจัยชัดเจนที่สามารถยืนยันสรรพคุณการขับปัสสาวะของรากหญ้าคาได้
ซึ่งยังคงต้องศึกษากันต่อไป(13)
ที่มา
- LIU, R. H., CHEN, S. S., REN, G., SHAO, F., & HUANG, H. L. (2013). Phenolic Compounds from Roots of< i> Imperata cylindrica</i> var.< i> major</i>. Chinese Herbal Medicines, 5(3), 240-243.
- Matsunaga, K., Ikeda, M., Shibuya, M., & Ohizumi, Y. (1994). Cylindol A, a novel biphenyl ether with 5-lipoxygenase inhibitory activity, and a related compound from Imperata cylindrica. Journal of natural products, 57(9), 1290-1293.
- Matsunaga, K., Shibuya, M., & Ohizumi, Y. (1995). Imperanene, a novel phenolic compound with platelet aggregation inhibitory activity from Imperata cylindrica. Journal of natural products, 58(1), 138-139.
- Matsunaga, K., Shibuya, M., & Ohizumi, Y. (1994). Graminone B, a novel lignan with vasodilative activity from Imperata cylindrica. Journal of natural products, 57(12), 1734-1736.
- Yoon, J. S., Lee, M. K., Sung, S. H., & Kim, Y. C. (2006). Neuroprotective 2-(2-Phenylethyl) chromones of Imperata c ylindrica. Journal of natural products,69(2), 290-291.
- LIU, X., ZHANG, B. F., YANG, L., CHOU, G. X., & WANG, Z. T. (2013). Two new chromones and a new flavone glycoside from< i> Imperata cylindrica</i>.Chinese Journal of Natural Medicines, 11(1), 77-80.
- Nishimoto, K., Ito, M., Natori, S., & Ohmoto, T. (1968). The structures of arundoin, cylindrin and fernenol: Triterpenoids of fernane and arborane groups of imperata cylindrica var. koenigii. Tetrahedron, 24(2), 735-752.
- Matsunaga, K., Shibuya, M., & Ohizumi, Y. (1994). Cylindrene, a Novel Sesquiterpenoid from Imperata clylindrica with Inhibitory Activity on Contractions of Vascular Smooth Muscle. Journal of natural products, 57(8), 1183-1184.
- Pinilla, V., & Luu, B. (1999). Isolation and partial characterization of immunostimulating polysaccharides from Imperata cylindrica. Planta medica,65(06), 549-552.
- Ruslin et al., (2013). Anti-hypertensive activity of Alang-Alang(Imperata cylindrical (L.) Beauv. Root metanolic extract on male Wistar rat. Int.J. Res.Pharm.Sci., 4(4), 537-542.
- ISMAIL, A. F. H., SAMAH, O. A., & Sule, A. (2011). A preliminary study on antimicrobial activity of Imperata cylindrica. Borneo Journal of Resource Science and Technology, 1(1), 63-66.
- Chunlaratthanaphorn, S., Lertprasertsuke, N., Srisawat, U., Thuppia, A., Ngamjariyawat, A., Suwanlikhid, N., & Jaijoy, K. (2007). Acute and subchronic toxicity study of the water extract from root of Imperata cylindrica (Linn.) Raeusch. in rats. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 29(1), 141-155.
- Wright, C. I., Van-Buren, L., Kroner, C. I., & Koning, M. M. G. (2007). Herbal medicines as diuretics: a review of the scientific evidence. Journal of ethnopharmacology, 114(1), 1-31.
- Ediriweera, E. R. H. S. S. (2010). A review on medicinal uses of weeds in Sri Lanka. Tropical Agricultural Research and Extension, 10, 11-16.
- Youssef, R. S. Medicinal and non-medicinal uses of some plants found in the middle region of Saudi Arabia. Medicinal Plants Research, 2501.
- Simha, G. V., Kumar, M. A., Rajesh, S., Panda, P., & Rao, M. M. (2012). Evaluation of Physicochemical Parameters of Imperata cylindrica (Linn) Beauv Root Used in Ayurvedic Formulations. Research Journal of Pharmacy and Technology, 5(10), 1352-1355.
- กรมพัฒณาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, (2551). หญ้าคา. ใน คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน. (เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, บรรณาธิการ). หน้า 182-184. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิม องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น