หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกอัญชันเพื่อสุขภาพ

อัญชัน(Butterfly Pea)

ชื่อวงศ์(Family name) : Fabaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea Linn.
Photo Cr: http://commons.wikimedia.org/

อัญชันเป็นไม้เลี้อยที่มีดอกสีน้ำเงินซึ่งมีรูปร่างคล้ายอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง จึงเป็นที่มาของชื่อลาตินของดอกอัญชันคำว่า Clitoria ซึ่งแผลงมาจาก Clitoris
อัญชันเป็นพืชที่พบได้ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรของเอเชีย และได้ถูกนำไปเพาะปลูกในแถบแอฟริกา อเมริกา และออสเตรเลีย
มีการใช้อัญชันในตำรับอายุรเวทมาเป็นเวลานานกว่าหลายร้อยปีในด้านเพิ่มความจำ บำรุงสมอง คลายเครียด คลายกังวล ช่วยให้หลับง่าย  ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมนำดอกอัญชันมาใช้ทำสีผสมอาหาร หรือใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
(Wikipedia, 2014)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในดอกอัญชัน
สีน้ำเงินที่พบในดอกอัญชันคือสารจำพวก “แอนโทไซยานิน(Anthocyanin)” ที่เรียกว่าเทอร์นาทิน(Ternatins A3, B2-B4, C1-C5, D2, D3) และพรีเทอร์นาทิน(Preternatins A3, A4)(Terahara, et al., 1996; Terahara, et al., 1998)

คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค
มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากดอกอัญชัน
·         มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง(Daisy and Rajathi, 2009)
·         มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ(Rabeta and Nabil, 2013)
·         มีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากพิษของยาพารา(Nithianantham, et al., 2013)
·         มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบและบรรเทาปวด(Shayamkumar and Ishwar, 2012)
·         มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง(Kumar and Bhat, 2011; Neda, et al., 2013)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทน
น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว
น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม

สีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย

นอกจากนี้ดอกอัญชันยังกินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด
(หมอชาวบ้าน, 2002)

การทำน้ำดอกอัญชันสำหรับดื่ม
ตามตำราสมุนไพรไทย ดอกอัญชันมีคุณสมบัติเป็นยาเย็นดื่มขับความร้อนออกจากร่างกาย ช่วยลดพิษไข้ได้  อีกทั้งยังมีคุณสมบัติบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ไปจนถึงเป็นยาบำรุงเลือดชั้นดี ช่วยขยายหลอดเลือดทำให้ระบบหมุนเวียนดีขึ้น ดอกอัญชันยังมีสารด้านอนุมูลอิสระมาก หากดื่มบ่อยๆ จะช่วยอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย
ส่วนผสมน้ำดอกอัญชัน
ดอกอัญชัน 30 ดอก  /  ใบอัญชัน  15 ใบ  / น้ำเชื่อม  300 ซีซี  /  น้ำสะอาด 100 ซีซี  /  น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ  /  น้ำแข็ง  /  เกลือป่น
วิธีทำ
ล้างดอกอัญชันให้สะอาด เด็ดเอาเฉพาะกลีบตำให้ละเอียด คั้นเอาเฉพาะน้ำ นำใบอัญชันมาล้างให้สะอาด บีบให้พอช้ำและต้มกับน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ เคี่ยวให้เหลือ 2 ใน 3 กรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้พร้อมน้ำดอกอัญชันที่ได้คั้นไว้แต่แรก คนให้เข้ากัน สามารถเติมน้ำมะนาวและเกลือป่นเพื่อเพิ่มรสชาติและสรรพคุณทางยา
(Thearokaya, 2014)

น้ำดอกอัญชันก่อนเติมน้ำมะนาวจะมีสีน้ำเงินเมื่อเติมน้ำมะนาวแล้วจะมีสีม่วงแดง
Photo Cr: https://xinfully.wordpress.com/tag/blue-pea-flowers/

ที่มา
  • Wikipedia. (2014). Clitoria ternatea (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Clitoria_ternatea [3 Feb 2014]
  • Terahara, N., Oda, M., Matsui, T., Osajima, Y., Saito, N., Toki, K., & Honda, T. (1996). Five new anthocyanins, ternatins A3, B4, B3, B2, and D2, from Clitoria ternatea flowers. Journal of natural products, 59(2), 139-144.
  • Terahara, N., Toki, K., Saito, N., Honda, T., Matsui, T., & Osajima, Y. (1998). Eight New Anthocyanins, Ternatins C1-C5 and D3 and Preternatins A3 and C4 from Young Clitoria t ernatea Flowers. Journal of natural products, 61(11), 1361-1367.
  • Daisy, P., & Rajathi, M. (2009). Hypoglycemic effects of Clitoria ternatea Linn.(Fabaceae) in alloxan-induced diabetes in rats. Tropical Journal of Pharmaceutical Research, 8(5).
  • Rabeta, M. S., & Nabil, Z. A. (2013). Total phenolic compounds and scavenging activity in Clitoria ternatea and Vitex negundo Linn. International Food Research Journal, 20(1), 495-500.
  • Nithianantham, K., Ping, K. Y., Latha, L. Y., Jothy, S. L., Darah, I., Chen, Y., ... & Sasidharan, S. (2013). Evaluation of hepatoprotective effect of methanolic extract of< i> Clitoria ternatea</i>(Linn.) flower against acetaminophen-induced liver damage. Asian Pacific Journal of Tropical Disease, 3(4), 314-319.
  • Shayamkumar & Ishwar, B. (2012). Anti inflammatory, analgesic and phytochemical studies of Clitoria ternatea Linn. flower extract. International Research Journal of Pharmacy, 3(3), 208-210.
  • Kumar, B. S., & Bhat, K. I. (2011). IN-VITRO CYTOTOXIC ACTIVITY STUDIES OF CLITORIA TERNATEA LINN FLOWER EXTRACTS. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review & Research, 6(2).
  • Neda, G. D., Rabeta, M. S., & Ong, M. T. (2013). Chemical composition and anti-proliferative properties of flowers of Clitoria Ternatea. International Food Research Journal, 20(3).
  • หมอชาวบ้าน. (2002). อัญชันสีสำหรับเส้นผมและดวงตา(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.doctor.or.th/article/detail/2359 [4 กุมภาพันธ์ 2557]
  • Thearokaya. (2014). น้ำดอกอัญชันช่วยบำรุงสายตาบำรุงเลือด(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://thearokaya.co.th/web/?p=1014 [4 กุมภาพันธ์ 2557]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น