เห็ดไมตาเกะ ปรับดุลภูมิคุ้มกัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grifola
frondosa
ชื่อภาษาอังกฤษ Hen
of the woods
ชื่อท้องถิ่น เห็ดขอนช้อนซ้อน
Photo CR: duffitness.com |
พบในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น
และทางตอนเหนือของประเทศอเมริกา เป็นเห็ดที่อยู่ในกลุ่มเห็ดที่นิยมใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ
และรักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณของญี่ปุ่น และจีน
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน
สารสำคัญที่พบในเห็ดไมตาเกะ
โพลีแซคคาไรด์ ไดแก่ เบต้ากูลแคน เช่น กริโฟแลน (Grifolan),
เฮเทอโรโพลีแซคคาไรด์ (heteropolysaccharide) ได้แก่ แมนโนไซโลกูลแคน
(Mannoxyloglucan), ไซโลกูลแคน (Xyloglucan) และแมนโนกาแลกโตฟูแคน (Mannogalactofucan) เป็นต้น
โปรตีนเชิงซ้อนของกลูแคน ที่เรียกว่า
ดีแฟรกชั่น (D-Fraction)
โปรตีนจากเห็ดไมตาเกะ (Grifola frondosa protein : GFP)
เสตอรอลจากเห็ด เช่น เอร์โกสเตอรอลเปอร์ออกไซด์ (ergosterol
peroxide)
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ปรับปรุงประสิทธิภาพทำงานของภูมิคุ้มกัน
- โพลีแซคคาไรด์, โปรตีน และโปรตีนเชิงซ้อนจากเห็ดไมตาเกะมีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด หรือแบบไม่จำเพาะ (innate immunity) และการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ได้รับมา หรือแบบจำเพาะ (adaptive immunity) ซึ่งได้แก่ แมคโครฟาจ (macrophage), เซลล์เดนไดร์ติก (dendritic cell), ทีเซลล์ (T cell) และ เซลล์เพชรฆาต (natural killer)
- เอร์โกสเตอรอลเปอร์ออกไซด์ และสารสกัดด้วยน้ำของเห็ดไมตาเกะมีคุณสมบัติในการปรับดุลการทำงานของภูมิคุ้มกันลดการผลิตสารก่ออักเสบ
มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- มีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์อัลฟากูลโคซิเดส
- เพิ่มการเมตาบอลิซึมของกูลโคส
การป้องกัน และรักษาโรค
มะเร็ง
- ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก โดยการกระตุ้นให้แมกโครฟาจ (macrophage) ผลิตไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินออกมาเพื่อกระตุ้นให้เซลล์เพฃรฆาต (natural killer)หลั่งไซโตไคน์ชนิดทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์ (TNF) เพื่อออกไปกำจัดเซลล์เนื้องอก
- กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง เช่น เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม
- เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด และยังลดผลเสียจากการได้รับรังสี
- การศึกษาทางคลินิกระยะ 1/2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเนื่องจากภาวะหมดประจำเดือน พบว่าการได้รับเห็ดไมตาเกะสกัดจะให้ผลเด่นชัดในเรื่องการปรับสมดุลภูมิคุ้มกันมากกว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว
ภูมคุ้มกันบกพร่อง (HIV)
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย HIV
เบาหวาน
- มีคุณสมบัติต้านโรคเบาหวานในหนูทดลอง
ที่มา
Wasser, S. "Medicinal
mushrooms as a source of antitumor and immunomodulating polysaccharides." Applied microbiology and
biotechnology60.3 (2002): 258-274.
Adachi, Y., et al.
"Enhancement of cytokine production by macrophages stimulated with
(1--> 3)-beta-D-glucan, grifolan (GRN), isolated from Grifola
frondosa." Biological
& pharmaceutical bulletin 17.12
(1994): 1554-1560.
Kodama, Noriko, et al.
"Effects of D-fraction, a polysaccharide from Grifola frondosa on tumor
growth involve activation of NK cells." Biological
and Pharmaceutical Bulletin 25.12
(2002): 1647-1650.
Kodama, Noriko, Kiyoshi
Komuta, and Hiroaki Nanba. "Effect of Maitake (Grifola frondosa)
D-Fraction on the activation of NK cells in cancer patients."Journal of
medicinal food 6.4 (2003):
371-377.
Kodama, Noriko, et al.
"Enhancement of cytotoxicity of NK cells by D-Fraction, a polysaccharide
from Grifola frondosa." Oncology
reports 13.3 (2005): 497-502.
Masuda, Yuki, et al.
"A polysaccharide extracted from Grifola frondosa enhances the anti-tumor
activity of bone marrow-derived dendritic cell-based immunotherapy against
murine colon cancer." Cancer
immunology, immunotherapy 59.10
(2010): 1531-1541.
Tsao, Yao-Wei, et al.
"Characterization of a Novel Maitake (Grifola frondosa) Protein That
Activates Natural Killer and Dendritic Cells and Enhances Antitumor Immunity in
Mice." Journal of
agricultural and food chemistry 61.41
(2013): 9828-9838.
Zhang, Yanjun, Gary L.
Mills, and Muraleedharan G. Nair. "Cyclooxygenase inhibitory and
antioxidant compounds from the mycelia of the edible mushroom Grifola
frondosa." Journal of
agricultural and food chemistry 50.26
(2002): 7581-7585.
Lee, Jong Suk, et al.
"Grifola frondosa water extract alleviates intestinal inflammation by
suppressing TNF-α production and its signaling." Experimental & molecular medicine 42.2 (2010): 143-154.
Wu, Shu-Jing, et al.
"Immunomodulatory activities of medicinal mushroom Grifola frondosa
extract and its bioactive constituent." The
American journal of Chinese medicine 41.01
(2013): 131-144.
Jin, Guoqian, Boping Ye,
and Tao Xi. "Preliminary study on the antiradiation effect of
intracellular grifolan come from grifola frondosa." Pharmaceutical Biotechnology 10.1 (2002): 40-42.
Yeh, Jan-Ying, et al.
"Antioxidant properties and antioxidant compounds of various extracts from
the edible basidiomycete Grifola frondosa (Maitake)."Molecules 16.4 (2011): 3197-3211.
Su, Chun‐Han, et al. "Inhibitory potential of
Grifola frondosa bioactive fractions on α‐amylase and α‐glucosidase for management of hyperglycemia."Biotechnology and
applied biochemistry 60.4
(2013): 446-452.
Ma, Xiaolei, et al.
"A polysaccharide from Grifola frondosa relieves insulin resistance of
HepG2 cell by Akt-GSK-3 pathway." Glycoconjugate
journal 31.5 (2014): 355-363.
Cui, Feng-Jie, et al.
"Induction of apoptosis in SGC-7901 cells by polysaccharide-peptide GFPS1b
from the cultured mycelia of< i> Grifola frondosa</i> GF9801." Toxicology in vitro 21.3 (2007): 417-427.
Soares, Raquel, et al.
"Maitake (D fraction) mushroom extract induces apoptosis in breast cancer
cells by BAK-1 gene activation." Journal
of medicinal food 14.6
(2011): 563-572.
Deng, G., et al. "A
phase I/II trial of a polysaccharide extract from Grifola frondosa (Maitake
mushroom) in breast cancer patients: immunological effects."Journal of
cancer research and clinical oncology 135.9
(2009): 1215-1221.
Nanba, Hiroaki, et al.
"Effects of maitake (Grifola frondosa) glucan in HIV-infected
patients." Mycoscience 41.4 (2000): 293-295.
Hong, Lei, Ma Xun, and Wu
Wutong. "Anti‐diabetic effect of an α‐glucan from fruit body of maitake (Grifola frondosa) on KK‐Ay mice." Journal of pharmacy and
pharmacology 59.4 (2007):
575-582.