กระชายดำ
(Black Galingale)
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall.
photo cr: www.thaicrudedrug.com |
กระชายดำ เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกับขิง และข่า
เป็นสมุนไพรท้องถิ่นของไทย นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง
มีประวัติใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึม และ เพิ่มพละกำลัง มักใช้ในยาอายุวัฒนะ
บำรุงทางเพศ บำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดท้อง กระชายดำจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “โสมไทย”
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในกระชายดำ
สารฟลาโวนอยด์ ตัวหลักที่พบคือ 5,7 ไดเมท๊อกซีฟลาโวน (5,7 dimetoxyflavone) และ 5,7,4 ไตรเมท๊อกซีฟลาโวน (5,7,4 trimethoxyflavone)
ฟลาโวนอยด์กลุ่มเมท๊อกซีคาลโคน
(methoxychalcone) ได้แก่ 2’-hydroxy-4’,6’-dimethoxychalcone
ฟลาโวนอยด์กลุ่มไกลโคไซด์ kaempferiaosides
เลกติน
น้ำมันหอมระเหย ได้แก่ borneol, sylvestrene และ endofenchol
คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันรักษาโรค
ต้านอักเสบ
กระชายดำจัดเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างมีคุณสมบัติเด่นในการต้านอักเสบ
โดยมีประวัติการใช้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคเกาต์ แผลร้อนใน
แผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร และฝี เป็นต้น
สาร 5,7
ไดเมท๊อกซีฟลาโวนที่พบในกระดำมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบได้เทียบเท่ากับยามาตรฐานหลายชนิด โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า
สารนี้จะต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง
นอกจากนี้ยังพบสารอีกหลายตัวในกระชายดำที่มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบโดยการยับยั้งการหลั่งของสารก่อการอักเสบ
ต้านการแพ้
สารประกอบในกระชายดำ เช่น 5,7 ไดเมท๊อกซีฟลาโวน มีคุณสมบัติในลดการหลั่งของสารก่อภูมิแพ้ได้
ต้านมะเร็ง
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญ
และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการลดการดื้อยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
ขยายหลอดเลือด ดีต่อหัวใจ
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ในหนูทดลอง
ช่วยลดการทำงานของหัวใจ
และป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื้อหัวใจเนื่องจากภาวะหัวใจขาดเลือด
สมรรถภาพทางเพศ
กระชายดำเป็นสมุนไพรไทยที่มีประวัติการใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย
โดยมีความโด่งดังถึงขั้นเคยถูกขนานนามว่า “ไวอะกร้าไทย” แต่ต่อมาในระยะหลัง(ช่วงปี 2009)
มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่า กระชายดำไม่ได้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย
หรือส่งผลต่อการผลิตอสุจิ เพียงแต่อาจมีคุณสมบัติในการกระตุ้นพฤติกรรมทางเพศโดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่ลูกอัณฑะ
ลดผลเสียจากความผิดปรกติของภาวะเมตาบอลิก
ลดการเพิ่มของน้ำหนักตัว การสะสมไขมันในช่องท้อง
การสะสมไขมันในตับ ภาวะดื้ออินซูลิน
และความดันโลหิตสูงในหนูอ้วนที่มีความผิดปรกติของภาวะเมตาบอลิก และเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชั่นในหนูที่เป็นเบาหวาน
ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจาก
ยา กรดในกระเพาอาหาร อัลกอฮล์ และความเครียด โดยรักษาระดับเมือกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อเฮลิโคแบกเตอร์
ไพโรไล (Helicobacter pylori )บุกรุกเซลล์เนื้อเยื้อ
ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ต้านเชื้อโรค
สารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาเลเรีย และเชื้อรา
การศึกษาทางคลินิก
สารสกัดจากกระชายดำสามารถเพิ่มสมรรถนทางกายในผู้สูงอายุได้
โดยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
การศึกษาความเป็นพิษ
การศึกษาพิษเฉียบพลันของกระชายดำในหนูถีบจักรโดยขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า
13.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
และไม่พบความเป็นพิษของผงกระชายดำในการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังในหนูที่ขนาด
2000 มก. ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
ชาวเผ่าม้งทางตอนเหนือของไทยนิยมรับประทานกระชายดำเมื่อ
รู้สึกปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ และเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ
สรรพคุณของกระชายดำตามแพทย์แผนไทย คือ แก้โรคบิด ปวดท้อง
ลมป่วงทุกชนิด บำรุงความกำหนัด แก้กามตายด้าน จึงใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ
บำรุงกำลัง บำรุงทางเพศ ขับลม แก้ปวดท้อง
ถ้าบดผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำดื่มจะแก้มดลูกพิการ มดลูกหย่อน
การใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง
และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน
ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน
ที่มา
Wikipedia. (2014). Kaempferia parviflora (online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Kaempferia_parviflora (2014,November 26)
อัญชลี จูฑะพุทธิ. (2556). กระชายดำ : สมุนไพร Champion Product. วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. 11 : 4-16
Sae-wong, Chutha, Pimpimon Tansakul, and Supinya Tewtrakul. "Anti-inflammatory mechanism of< i> Kaempferia parviflora</i> in murine macrophage cells (RAW 264.7) and in experimental animals." Journal of ethnopharmacology124.3 (2009): 576-580.
Sae-Wong, Chutha, et al. "Suppressive effects of methoxyflavonoids isolated from< i> Kaempferia parviflora</i> on inducible nitric oxide synthase (iNOS) expression in RAW 264.7 cells." Journal of ethnopharmacology 136.3 (2011): 488-495.
Tewtrakul, Supinya, and Sanan Subhadhirasakul. "Effects of compounds from< i> Kaempferia parviflora</i> on nitric oxide, prostaglandin E< sub> 2</sub> and tumor necrosis factor-alpha productions in RAW264. 7 macrophage cells."Journal of ethnopharmacology 120.1 (2008): 81-84.
Tewtrakul, Supinya, and Sanan Subhadhirasakul. "Anti-allergic activity of some selected plants in the Zingiberaceae family." Journal of ethnopharmacology109.3 (2007): 535-538.
Yenjai, Chavi, and Suchana Wanich. "Cytotoxicity against KB and NCI-H187 cell lines of modified flavonoids from< i> Kaempferia parviflora</i>." Bioorganic & medicinal chemistry letters 20.9 (2010): 2821-2823.
Banjerdpongchai, Ratana, et al. "Ethanolic rhizome extract from Kaempferia parviflora Wall. ex. Baker induces apoptosis in HL-60 cells." Asian Pac J Cancer Prev 9 (2008): 595-600.
Leardkamolkarn, Vijittra, Sunida Tiamyuyen, and Bung-orn Sripanidkulchai. "Pharmacological activity of Kaempferia parviflora extract against human bile duct cancer cell lines." Asian Pacific Journal of Cancer Prevention 10 (2009): 695-698.
Yenjai, Chavi, et al. "Structural modification of 5, 7-dimethoxyflavone from Kaempferia parviflora and biological activities." Archives of pharmacal research32.9 (2009): 1179-1184.
Patanasethanont, Denpong, et al. "Effects of Kaempferia parviflora extracts and their flavone constituents on P‐glycoprotein function." Journal of pharmaceutical sciences 96.1 (2007): 223-233.
Tep‐areenan, Patcharin, Pattara Sawasdee, and Michael Randall. "Possible mechanisms of vasorelaxation for 5, 7‐dimethoxyflavone from Kaempferia parviflora in the rat aorta." Phytotherapy Research 24.10 (2010): 1520-1525.
Trisomboon, H. "Kaempferia parviflora, a Thai herbal plant, neither promote reproductive function nor increase libido via male hormone." Thai J Physiol Sci21 (2009): 83-6.
Chaichanawongsaroj, Nuntaree, et al. "The effects of Kaempferia parviflora on anti-internalization activity of Helicobacter pylori to HEp-2 cells." African Journal of Biotechnology 9.30 (2010): 4796-4801.
ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์ ม. อุบลราชธานี (http://www.thaicrudedrug.com/main.php)