ชื่อวงศ์(Family name) : Lauraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum Cassia Presl.
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน
และมีการปลูกแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียทางใต้ และตะวันออก เช่นประเทศ อินเดีย
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ลาว ไต้หวัน และเวียดนาม(1)
อบเชยจีนเป็นหนึ่งในเครื่องเทศสกุล Cinnamomum ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับเครื่องเทศซินนามอน(Cinnamon) หรือ อบเชย(ที่นิยมใส่ในกาแฟ
โกโก้ หรือ ขนมอบบางชนิด) โดยอบเชย หรือ
ซินนามอนมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum Zeylanicum ซึ่งในต่างประเทศมีการเรียกอบเชยจีนว่า Cinnamon มากกว่าใช้คำว่า Cassia
อบเชยจีนได้ถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณของจีน โดยเป็นสมุนไพร 1 ใน
50 สมุนไพรพื้นฐานของจีน(1)
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในเปลือกอบเชยจีน(2)
ซินนามัลดีไฮด์(Cinnamaldehyde) 2.82-0.92%, กรดซินนามิก(Cinnamic
acid) 0.15-0.03% และอื่นๆ เช่น ซินนามิลอัลกอฮอล์(Cinnamyl
alcohol)
คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค
ต้านเบาหวาน
คุณสมบัติเด่นของอบเชยจีนคือความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีการศึกษามากมายที่ค่อนข้างแน่ชัดว่าสามารต้านโรคเบาหวานได้
เช่นมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบไม่พึ่งอินซูลิน(non
insulin dependent diabetes mellitus:NIDDM) หรือผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่2
โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 6 กลุ่ม 3 กลุ่มแรกได้รับอบเชยจีนในปริมาณ 1, 3 และ 6 กรัม
ส่วนอีก 3 กลุ่มที่เหลือได้รับยาหลอก(Placebo) เป็นเวลา 40
วัน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ได้รับอบเชยจีนมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 18-29%
ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง(3) เช่นเดียวกับอีกการศึกษาหนึ่งคือ แบ่งผู้ป่วยออกเป็น
2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับอบเชยจีนในปริมาณวันละ 8 กรัม เป็นเวลา 40 วัน
ส่วนอีกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหลังอดอาหาร
8 ชม.(Fasting blood sugar) และหลังมื้ออาหาร(Post prandial blood sugar)อย่างมีนัยสำคัญ(ตามตารางด้านล่าง)
ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ(4)
เริ่มต้น
|
20 วัน
|
40 วัน
|
|
ระดับน้ำตาลภายหลังอดอาหาร
8 ชม.(mg/dl)
|
148.73
|
134.0
|
120.66
|
ระดับน้ำตาลภายหลังมื้ออาหาร(mg/dl)
|
187.66
|
172.93
|
163.6
|
ต้านอักเสบ
สารสกัดอบเชยจีนด้วยน้ำมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบที่เกิดจากการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป
เช่นการแพ้ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง(passive cutaneous anaphylaxis), หลอดเลือดอักเสบที่ผิวหนัง(cutaneous
vasculitis), ภาวะไตอักเสบ(nephrotoxic serum nephritis),
การอักเสบบวมแดงเฉพาะที่(arthus reaction)(5)
ซึ่งกลไกในการต้านอักเสบส่วนหนึ่งอาจมาจากความสามารถในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ของเซลล์ภูมิคุ้มกัน(6)
ต้านอนุมูลอิสระ
สารสำคัญในอบเชยจีนมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง(7)
ต้านมะเร็ง
- มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการตาย(Apoptosis)ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว(5), มะเร็งปากมดลูก(8)
- มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งได้แก่ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งผิวหนัง(5)
- สามารถยับยั้งการเจริญ(Antiproliferative) และกระตุ้นการตายเซลล์มะเร็งตับ(9)
ต้านแผลในกระเพาะอาหาร
พบว่าสามารถบรรเทาการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลองซึ่งกลไกการทำงานยังไม่แน่ชัดแต่อาจเกี่ยวข้องกับการหลั่งเมือกของกระเพาะที่ถูกกระตุ้นโดยเซโรโทนิน(5)
ลดระดับไขมัน และคลอเรสเตอรอลในเลือด
จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสามารถเพิ่มคลอเรสเตอรอลชนิดที่ดี(HDL)
และลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้
และจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่านอกจากจะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังช่วยปรับระดับไขมันต่างในเลือดให้ดีขึ้นโดยลดระดับคลอเรสเตอรอลรวม
คอลเรสเตอรอลชนิดเลว(LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ได้(5,3)
ต้านจุลชีพ
น้ำมันหอมระเหยในอบเชยจีนมีความสามารถในการต้านจุลชีพได้แก่
แบคทีเรีย(10,11), เชื้อรา และยีสต์(11) และยังสามารถยับยั้งการเจิรญ
และกิจกรรมของแบคทีเรีย Helicobactor pyroli
ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร(12)
สามารถใช้รักษาโรคบิดเฉียบพลันได้โดยจากการศึกษาในประเทศจีนให้ผู้ป่วยรับประทานอบเชยจีน
1.2-1.5 กรัม ติดต่อกัน 2 ครั้งโดยแต่ละครั้งห่างกัน 1 ชม.
และหลังจากนั้นให้รับประทานอีกติดต่อกัน 3 ครั้งโดยครั้งนี้ห่างกัน 2 ชม.(15)
ต้านไวรัส
จากการศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้ในอินเดีย 69
ชนิดพบว่าสารสกัดจากเปลือกอบเชยจีน(Cinnamomum cassia)
และผลโคกกระออม(Cardiospermum helicacabum) มีความสามารถในการต้านไวรัส
HIV ได้ดีที่สุด(13)
และยังมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
เช่นไข้หวัดใหญ่(14)
ต้านซึมเศร้า และช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง(5)
ลดความดันโลหิต(5)
การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
อบเชยจีนมีรสเผ็ดอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน บำรุงธาตุไฟในระบบไต ม้าม หัวใจ
และตับ(2) มักใช้ในการรักษาโรคหวัด, ลดไข้, ท้องเสีย, โรคอาหารไม่ย่อย(dyspepsia),
โรคกระเพราะอาหารอักเสบ(gastritis), เลือดไหลเวียนไม่ดี และโรคที่มีการอักเสบต่างๆ(5,9)
การแพทย์แผนจีนใช้ 1-4.5 กรัม ต้มน้ำดื่ม(15)
ความเป็นพิษ
อบเชยจีนจัดเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัยถ้ารับประทานในปริมาณที่ใช้ในอาหาร
อาหารเสริม หรือยาสมุนไพร แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมากๆ
หรือไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำจากฉลาก หรือ แพทย์ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในบางคน
โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับตับเนื่องจากในอบเชยจีนมีสารคูมาริน(Coumarin) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ
คูมารินแท้จริงแล้วจัดเป็นยาและมีการใช้รักษาในผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็ง
การติดเชื้อ อาการบวมน้ำ และโรคอ่อนเพลียเรื้อรังเป็นต้น ปริมาณการใช้มีตั้งแต่ 25
มก. ไปจนถึง 2000 มก.(2กรัม) ต่อวัน
ซึ่งพบว่าเกิดผลเสียต่อตับบ้างในผู้ป่วยบางร้าย
เช่นจากการใช้คูมารินให้ผู้ป่วยในปริมาณ 100 มก.ต่อวันเป็นเวลา 1 เดือน
แล้วตามด้วย 50 มก. เป็นเวลา 2 ปีพบว่ามีผู้ป่วยที่มีปัญหาที่ตับ 0.37% (16)
สำหรับเปลือกอบเชยจีนจะมีปริมาณคูมารินอยู่ประมาณ 0.26-0.03%(2) ถ้าคำนวณที่ปริมาณการใช้คูมารินเป็นยาที่ 50 มก.
จะเทียบเท่ากับอบเชยจีนปริมาณ 19-170 กรัม
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการได้รับในปริมาณนี้ในระยะเวลายาวๆอาจมีปัญหาต่อตับได้
แต่อย่างไรก็ดีปริมาณข้างต้นเป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูงกว่าปริมาณที่ใช้ในอาหาร
หรือยาสมุนไพรทั่วไป
เนื่องจากคูมารินสามารถพบได้ในอบเชย(ทั้งซินนามอน และอบเชยจีน) เพื่อเป็นแนวทางในการไม่ให้ได้รับคูมารินมากเกินไปองค์การความปลอดภัยของอาหารยุโรป(European
Food Safety Authority) ได้กำหนดปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวัน(Tolerable
Daily Intake: TDI)ในระยะยาว(ตลอดชีวิต) ของคูมาริน คือ 0.1 มก.ต่อ
น้ำหนักตัว 1 กก.(17) ถ้าลองคำนวณที่น้ำหนักตัว 50 กก. หมายความว่าจะสามารถรับคูมารินได้ที่
5 มก.ต่อวัน ซึ่งจะมาจากเปลือกอบเชยจีนประมาณ 2-17 กรัม
ซึ่งเป็นช่วงปริมาณที่ใช้ในอาหาร อาหารเสริม หรือยาสมุนไพรตามปรกติ
ค่า LD50 ในการให้สารซินนามิกอัลดีไฮด์ทางปากกับหนูคือ 2225 มก.ต่อน้ำหนักตัว
1 กก.(2)
ค่า LD 50 ในการให้สารสกัดด้วยน้ำทางปากกับหนูถีบจักรโดยมีปริมาณเทียบเท่าผงยาคือ
120 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.(15)
หมายเหตุ LD50 ปริมาณสารที่ทำให้สัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตาย
ท้ายนี้ขอกล่าวว่าสมุนไพรเป็นพืชที่มีสรรพคุณในทางยาในการเลือกรับประทานขอให้เลือกรับประทานจากแหล่งที่มีการรับรองจากองค์การอาหารและยา
หรือ กระทรวงสาธารณสุข และควรรับประทานตามคำแนะนำตามฉลาก หรือควรศึกษาข้อมูล และปรึกษาผู้เชียวชาญเฉพาะด้านก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัย
ที่มาของข้อมูล
- Wikipedia. (2013). Cinnamomum Cassia (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Cinnamomum_cassia
- Nguyen Kim Dao, (2003). Chinese Cassia. In Cinnamon and Cassia: The Genus Cinnamomum (ed. P. N. Ravindran, K Nirmal-Babu, M Shylaja) pp. 156-184. CRC Press.
- Khan, A., Safdar, M., Khan, M. M. A., Khattak, K. N., & Anderson, R. A. (2003). Cinnamon improves glucose and lipids of people with type 2 diabetes.Diabetes care, 26(12), 3215-3218.
- Soni, R., & Bhatnagar, V. (2009). Effect of Cinnamon (Cinnamomum Cassia) intervention on Blood Glucose of Middle Aged Adult Male with Non Insulin Dependent Diabetes Mellitus (NIDDM). Studies on Ethno-Medicine, 3(2), 141-144.
- Shen, Y., Jia, L. N., Honma, N., Hosono, T., Ariga, T., & Seki, T. (2012). Beneficial Effects of Cinnamon on the Metabolic Syndrome, Inflammation, and Pain, and Mechanisms Underlying These Effects-A Review. Journal of Traditional and Complementary Medicine, 2(1), 27.
- Lee, H. S., Kim, B. S., & Kim, M. K. (2002). Suppression effect of Cinnamomum cassia bark-derived component on nitric oxide synthase. Journal of agricultural and food chemistry, 50(26), 7700-7703.
- Jang, H. D., Chang, K. S., Huang, Y. S., Hsu, C. L., Lee, S. H., & Su, M. S. (2007). Principal phenolic phytochemicals and antioxidant activities of three Chinese medicinal plants. Food chemistry, 103(3), 749-756.
- Koppikar, S. J., Choudhari, A. S., Suryavanshi, S. A., Kumari, S., Chattopadhyay, S., & Kaul-Ghanekar, R. (2010). Aqueous cinnamon extract (ACE-c) from the bark of Cinnamomum cassia causes apoptosis in human cervical cancer cell line (SiHa) through loss of mitochondrial membrane potential. BMC cancer, 10(1), 210.
- Ng, L. T., & Wu, S. J. (2011). Antiproliferative activity of Cinnamomum cassia constituents and effects of pifithrin-alpha on their apoptotic signaling pathways in Hep G2 cells. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine,2011.
- Chaudhry, N. M. A., & Tariq, P. E. R. W. E. E. N. (2006). Anti-microbial activity of cinnamomum cassia against diverse microbial flora with its nutritional and medicinal impacts. Pakistan Journal of Botany, 38(1), 169.
- Ooi, L. S., Li, Y., Kam, S. L., Wang, H., Wong, E. Y., & Ooi, V. E. (2006). Antimicrobial activities of cinnamon oil and cinnamaldehyde from the Chinese medicinal herb Cinnamomum cassia Blume. The American journal of Chinese medicine, 34(03), 511-522.
- Tabak, M., Armon, R., & Neeman, I. (1999). Cinnamon extracts’ inhibitory effect on< i> Helicobacter pylori</i>. Journal of ethnopharmacology, 67(3), 269-277.
- Premanathan, M., Rajendran, S., Ramanathan, T., Kathiresan, K., Nakashima, H., & Yamamoto, N. (2000). A survey of some Indian medicinal plants for anti-human immunodeficiency virus (HIV) activity. The Indian journal of medical research, 112, 73.
- Hayashi, K., Imanishi, N., Kashiwayama, Y., Kawano, A., Terasawa, K., Shimada, Y., & Ochiai, H. (2007). Inhibitory effect of cinnamaldehyde, derived from Cinnamomi cortex, on the growth of influenza A/PR/8 virus< i> in vitro</i> and< i> in vivo</i>. Antiviral research, 74(1), 1-8.
- กรมพัฒณาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, (2551). อบเชยจีน. ใน คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน. (เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, บรรณาธิการ). หน้า 206-208. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิม องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
- European Food Safety Authority. (2008). Coumarin in flavourings and other food ingredients with flavouring properties. The EFSA Journal 793, 1-15
- AFC, 2004; AFC; Opinion of the scientific panel on food additives,flavourings, processing aids and materials in contact with food (AFC) on a request from the Commission related to Coumarin. EFSA Journal, 104 (2004), pp. 1–36.