หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กานพลูเพื่อสุขภาพ


กานพลู (Clove)


ชื่อวงศ์(Family name) : Myrtaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr. et Perry.

กานพลูเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย(1) โดยมีการนำไปใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหารจึงเป็นที่รู้จักในวงกว้างทั่วโลก พบว่ามีการปลูกันในเชิงพาณิชย์ในประเทศอินเดีย มาดากัสการ์ ศรีลังกา บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และทางตอนใต้ของจีน (2)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในกานพลู


ส่วนประกอบที่สำคัญในการพลูคือน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีปริมาณมากกว่า 20% โดยชนิดน้ำมันหอมระเหยที่พบมากที่สุดคือ ยูจีนอล(49.7% ของน้ำมันหอมระเหยทั้งหมด) นอกนั้นจะเป็น caryophyllene, benzene,1-ethyl-3-nitro และ benzoic acid,3-(1-methylethyl)(2)

คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค(3)


ต้านออกซิเดชั่น
  • ลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน และเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในเนื้อเยื้อในหนูทดลองที่ให้รับประทานอาหารไขมันสูง
  • มีประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชั่นสูงกว่าวิตามินอี


ต้านจุลชีพ
  • น้ำมันกานพลูมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียได้ถึง 25 ชนิด รวมถึงแบคทีเรียที่สามารถก่อให้เกิดฟันผุ
  • สามารถต้านเชื้อรา ได้แก่ แคนดิดา(Candida) แอสเปอจิรัส(Aspergillus) และ เชื้อราที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนัง
  • ต้านไวรัสโรคเริม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (cytomegalovirus) ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย


ลดการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด

ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ

ต้านมะเร็ง ป้องกันมะเร็ง และมีความจำเพาะในการเข้าทำลายเซลล์มะเร็ง

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ(3)


ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาฟันผุ โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง ระงับปวด ปวดอักเสบ

แก้ท้องเสีย โดยใช้กานพลู 4 กรัม ต้มในน้ำ 3 ลิตร จนกระทั้งน้ำระเหยไปครั้งหนึ่งแล้วดื่มจนหมดอาการท้องร่วงจะค่อยๆดีขึ้น

เคี้ยวกานพลู กับ เกลือจะบรรเทาอาการระคายคอ และไอ เนื่องจากคอหอยอักเสบ

เป็น 1 ใน 3 ของพิกัดตรีพิษจักร คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสซึมซาบไวดังกงจักร 3 อย่าง มี ผลผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ และกานพลู(4)

การศึกษาความเป็นพิษ(5)


จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากดอกกานพลู พบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า10กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

ที่มา

  1. Wikipedia. (2013). Clove (online). Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Clove [2013, October 3]
  2. Bhuiyan, M. N. I., Begum, J., Nandi, N. C., & Akter, F. (2010). Constituents of the essential oil from leaves and buds of clove (Syzigium caryophyllatum (L.) Alston). African Journal of Plant Science, 4(11), 451-454.
  3. Kumar, P., P. Jaiswal, V.K. Singh and D.K. Singh, 2011. Medicinal, therapeutic and pharmacological effects of Syzygium aromaticum (Laung). Pharmacologyonline, 1: 1044-1055.
  4. http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=18
  5. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ). ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น