หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระชายดำเพื่อสุขภาพ

กระชายดำ (Black Galingale)

ชื่อวงศ์               Zingiberaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์     Kaempferia parviflora Wall.
photo cr: www.thaicrudedrug.com

กระชายดำ เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกับขิง และข่า เป็นสมุนไพรท้องถิ่นของไทย นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง มีประวัติใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึม และ เพิ่มพละกำลัง มักใช้ในยาอายุวัฒนะ บำรุงทางเพศ บำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดท้อง กระชายดำจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “โสมไทย”


องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในกระชายดำ

สารฟลาโวนอยด์ ตัวหลักที่พบคือ 5,7 ไดเมท๊อกซีฟลาโวน (5,7 dimetoxyflavone) และ 5,7,4 ไตรเมท๊อกซีฟลาโวน (5,7,4 trimethoxyflavone)
ฟลาโวนอยด์กลุ่มเมท๊อกซีคาลโคน (methoxychalcone) ได้แก่ 2’-hydroxy-4’,6’-dimethoxychalcone
ฟลาโวนอยด์กลุ่มไกลโคไซด์ kaempferiaosides
เลกติน
น้ำมันหอมระเหย ได้แก่  borneol, sylvestrene และ endofenchol

คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันรักษาโรค

ต้านอักเสบ
กระชายดำจัดเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างมีคุณสมบัติเด่นในการต้านอักเสบ  โดยมีประวัติการใช้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคเกาต์ แผลร้อนใน แผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร และฝี เป็นต้น
สาร 5,7 ไดเมท๊อกซีฟลาโวนที่พบในกระดำมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบได้เทียบเท่ากับยามาตรฐานหลายชนิด โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารนี้จะต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบสารอีกหลายตัวในกระชายดำที่มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบโดยการยับยั้งการหลั่งของสารก่อการอักเสบ

ต้านการแพ้
สารประกอบในกระชายดำ เช่น 5,7 ไดเมท๊อกซีฟลาโวน มีคุณสมบัติในลดการหลั่งของสารก่อภูมิแพ้ได้

ต้านมะเร็ง
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการลดการดื้อยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง

ขยายหลอดเลือด ดีต่อหัวใจ
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ในหนูทดลอง ช่วยลดการทำงานของหัวใจ และป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื้อหัวใจเนื่องจากภาวะหัวใจขาดเลือด

สมรรถภาพทางเพศ
กระชายดำเป็นสมุนไพรไทยที่มีประวัติการใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย โดยมีความโด่งดังถึงขั้นเคยถูกขนานนามว่า “ไวอะกร้าไทย”  แต่ต่อมาในระยะหลัง(ช่วงปี 2009) มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่า กระชายดำไม่ได้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย หรือส่งผลต่อการผลิตอสุจิ เพียงแต่อาจมีคุณสมบัติในการกระตุ้นพฤติกรรมทางเพศโดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่ลูกอัณฑะ

ลดผลเสียจากความผิดปรกติของภาวะเมตาบอลิก
ลดการเพิ่มของน้ำหนักตัว การสะสมไขมันในช่องท้อง การสะสมไขมันในตับ ภาวะดื้ออินซูลิน และความดันโลหิตสูงในหนูอ้วนที่มีความผิดปรกติของภาวะเมตาบอลิก และเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชั่นในหนูที่เป็นเบาหวาน

ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดจากกระชายดำมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจาก ยา กรดในกระเพาอาหาร อัลกอฮล์ และความเครียด โดยรักษาระดับเมือกในกระเพาะอาหาร  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อเฮลิโคแบกเตอร์ ไพโรไล (Helicobacter pylori )บุกรุกเซลล์เนื้อเยื้อ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ต้านเชื้อโรค
สารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาเลเรีย และเชื้อรา

การศึกษาทางคลินิก
สารสกัดจากกระชายดำสามารถเพิ่มสมรรถนทางกายในผู้สูงอายุได้ โดยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย

การศึกษาความเป็นพิษ
การศึกษาพิษเฉียบพลันของกระชายดำในหนูถีบจักรโดยขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 13.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.  และไม่พบความเป็นพิษของผงกระชายดำในการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังในหนูที่ขนาด 2000 มก. ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
ชาวเผ่าม้งทางตอนเหนือของไทยนิยมรับประทานกระชายดำเมื่อ รู้สึกปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ และเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ
สรรพคุณของกระชายดำตามแพทย์แผนไทย คือ แก้โรคบิด ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด บำรุงความกำหนัด แก้กามตายด้าน จึงใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงทางเพศ ขับลม แก้ปวดท้อง  ถ้าบดผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำดื่มจะแก้มดลูกพิการ มดลูกหย่อน

การใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด  ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน

ที่มา


Wikipedia. (2014). Kaempferia parviflora (online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Kaempferia_parviflora (2014,November 26)

อัญชลี จูฑะพุทธิ. (2556). กระชายดำ : สมุนไพร Champion Product. วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. 11 : 4-16

Sae-wong, Chutha, Pimpimon Tansakul, and Supinya Tewtrakul. "Anti-inflammatory mechanism of< i> Kaempferia parviflora</i> in murine macrophage cells (RAW 264.7) and in experimental animals." Journal of ethnopharmacology124.3 (2009): 576-580.

Sae-Wong, Chutha, et al. "Suppressive effects of methoxyflavonoids isolated from< i> Kaempferia parviflora</i> on inducible nitric oxide synthase (iNOS) expression in RAW 264.7 cells." Journal of ethnopharmacology 136.3 (2011): 488-495.

Tewtrakul, Supinya, and Sanan Subhadhirasakul. "Effects of compounds from< i> Kaempferia parviflora</i> on nitric oxide, prostaglandin E< sub> 2</sub> and tumor necrosis factor-alpha productions in RAW264. 7 macrophage cells."Journal of ethnopharmacology 120.1 (2008): 81-84.

Tewtrakul, Supinya, and Sanan Subhadhirasakul. "Anti-allergic activity of some selected plants in the Zingiberaceae family." Journal of ethnopharmacology109.3 (2007): 535-538.

Yenjai, Chavi, and Suchana Wanich. "Cytotoxicity against KB and NCI-H187 cell lines of modified flavonoids from< i> Kaempferia parviflora</i>." Bioorganic & medicinal chemistry letters 20.9 (2010): 2821-2823.

Banjerdpongchai, Ratana, et al. "Ethanolic rhizome extract from Kaempferia parviflora Wall. ex. Baker induces apoptosis in HL-60 cells." Asian Pac J Cancer Prev 9 (2008): 595-600.

Leardkamolkarn, Vijittra, Sunida Tiamyuyen, and Bung-orn Sripanidkulchai. "Pharmacological activity of Kaempferia parviflora extract against human bile duct cancer cell lines." Asian Pacific Journal of Cancer Prevention 10 (2009): 695-698.

Yenjai, Chavi, et al. "Structural modification of 5, 7-dimethoxyflavone from Kaempferia parviflora and biological activities." Archives of pharmacal research32.9 (2009): 1179-1184.

Patanasethanont, Denpong, et al. "Effects of Kaempferia parviflora extracts and their flavone constituents on P‐glycoprotein function." Journal of pharmaceutical sciences 96.1 (2007): 223-233.

Tep‐areenan, Patcharin, Pattara Sawasdee, and Michael Randall. "Possible mechanisms of vasorelaxation for 5, 7‐dimethoxyflavone from Kaempferia parviflora in the rat aorta." Phytotherapy Research 24.10 (2010): 1520-1525.

Trisomboon, H. "Kaempferia parviflora, a Thai herbal plant, neither promote reproductive function nor increase libido via male hormone." Thai J Physiol Sci21 (2009): 83-6.

Chaichanawongsaroj, Nuntaree, et al. "The effects of Kaempferia parviflora on anti-internalization activity of Helicobacter pylori to HEp-2 cells." African Journal of Biotechnology 9.30 (2010): 4796-4801.

ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์ ม. อุบลราชธานี (http://www.thaicrudedrug.com/main.php)

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เห็ดไมตาเกะ เพื่อสุขภาพ

เห็ดไมตาเกะ ปรับดุลภูมิคุ้มกัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด


เห็ดไมตาเกะ (Maitake mushroom)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Grifola frondosa
ชื่อภาษาอังกฤษ    Hen of the woods
ชื่อท้องถิ่น              เห็ดขอนช้อนซ้อน


Photo CR: duffitness.com

พบในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น และทางตอนเหนือของประเทศอเมริกา เป็นเห็ดที่อยู่ในกลุ่มเห็ดที่นิยมใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ และรักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณของญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะเน้นในเรื่องของระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน

สารสำคัญที่พบในเห็ดไมตาเกะ

โพลีแซคคาไรด์ ไดแก่ เบต้ากูลแคน เช่น กริโฟแลน (Grifolan),
เฮเทอโรโพลีแซคคาไรด์ (heteropolysaccharide) ได้แก่ แมนโนไซโลกูลแคน (Mannoxyloglucan), ไซโลกูลแคน (Xyloglucan) และแมนโนกาแลกโตฟูแคน (Mannogalactofucan) เป็นต้น
โปรตีนเชิงซ้อนของกลูแคน ที่เรียกว่า ดีแฟรกชั่น (D-Fraction)
โปรตีนจากเห็ดไมตาเกะ (Grifola frondosa protein : GFP)
เสตอรอลจากเห็ด เช่น เอร์โกสเตอรอลเปอร์ออกไซด์ (ergosterol peroxide)

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

ปรับปรุงประสิทธิภาพทำงานของภูมิคุ้มกัน
  • โพลีแซคคาไรด์, โปรตีน และโปรตีนเชิงซ้อนจากเห็ดไมตาเกะมีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด หรือแบบไม่จำเพาะ (innate immunity)  และการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ได้รับมา หรือแบบจำเพาะ (adaptive immunity) ซึ่งได้แก่ แมคโครฟาจ (macrophage), เซลล์เดนไดร์ติก (dendritic cell), ทีเซลล์ (T cell) และ เซลล์เพชรฆาต (natural killer)
  • เอร์โกสเตอรอลเปอร์ออกไซด์ และสารสกัดด้วยน้ำของเห็ดไมตาเกะมีคุณสมบัติในการปรับดุลการทำงานของภูมิคุ้มกันลดการผลิตสารก่ออักเสบ


มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • มีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์อัลฟากูลโคซิเดส
  • เพิ่มการเมตาบอลิซึมของกูลโคส


การป้องกัน และรักษาโรค

มะเร็ง
  • ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก โดยการกระตุ้นให้แมกโครฟาจ (macrophage) ผลิตไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินออกมาเพื่อกระตุ้นให้เซลล์เพฃรฆาต (natural killer)หลั่งไซโตไคน์ชนิดทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์ (TNF) เพื่อออกไปกำจัดเซลล์เนื้องอก
  • กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง เช่น เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด และยังลดผลเสียจากการได้รับรังสี
  • การศึกษาทางคลินิกระยะ 1/2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเนื่องจากภาวะหมดประจำเดือน พบว่าการได้รับเห็ดไมตาเกะสกัดจะให้ผลเด่นชัดในเรื่องการปรับสมดุลภูมิคุ้มกันมากกว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว


ภูมคุ้มกันบกพร่อง (HIV)
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย HIV


เบาหวาน
  • มีคุณสมบัติต้านโรคเบาหวานในหนูทดลอง




ที่มา
Wasser, S. "Medicinal mushrooms as a source of antitumor and immunomodulating polysaccharides." Applied microbiology and biotechnology60.3 (2002): 258-274.
Adachi, Y., et al. "Enhancement of cytokine production by macrophages stimulated with (1--> 3)-beta-D-glucan, grifolan (GRN), isolated from Grifola frondosa." Biological & pharmaceutical bulletin 17.12 (1994): 1554-1560.
Kodama, Noriko, et al. "Effects of D-fraction, a polysaccharide from Grifola frondosa on tumor growth involve activation of NK cells." Biological and Pharmaceutical Bulletin 25.12 (2002): 1647-1650.
Kodama, Noriko, Kiyoshi Komuta, and Hiroaki Nanba. "Effect of Maitake (Grifola frondosa) D-Fraction on the activation of NK cells in cancer patients."Journal of medicinal food 6.4 (2003): 371-377.
Kodama, Noriko, et al. "Enhancement of cytotoxicity of NK cells by D-Fraction, a polysaccharide from Grifola frondosa." Oncology reports 13.3 (2005): 497-502.
Masuda, Yuki, et al. "A polysaccharide extracted from Grifola frondosa enhances the anti-tumor activity of bone marrow-derived dendritic cell-based immunotherapy against murine colon cancer." Cancer immunology, immunotherapy 59.10 (2010): 1531-1541.
Tsao, Yao-Wei, et al. "Characterization of a Novel Maitake (Grifola frondosa) Protein That Activates Natural Killer and Dendritic Cells and Enhances Antitumor Immunity in Mice." Journal of agricultural and food chemistry 61.41 (2013): 9828-9838.
Zhang, Yanjun, Gary L. Mills, and Muraleedharan G. Nair. "Cyclooxygenase inhibitory and antioxidant compounds from the mycelia of the edible mushroom Grifola frondosa." Journal of agricultural and food chemistry 50.26 (2002): 7581-7585.
Lee, Jong Suk, et al. "Grifola frondosa water extract alleviates intestinal inflammation by suppressing TNF-α production and its signaling." Experimental & molecular medicine 42.2 (2010): 143-154.
Wu, Shu-Jing, et al. "Immunomodulatory activities of medicinal mushroom Grifola frondosa extract and its bioactive constituent." The American journal of Chinese medicine 41.01 (2013): 131-144.
Jin, Guoqian, Boping Ye, and Tao Xi. "Preliminary study on the antiradiation effect of intracellular grifolan come from grifola frondosa." Pharmaceutical Biotechnology 10.1 (2002): 40-42.
Yeh, Jan-Ying, et al. "Antioxidant properties and antioxidant compounds of various extracts from the edible basidiomycete Grifola frondosa (Maitake)."Molecules 16.4 (2011): 3197-3211.
Su, ChunHan, et al. "Inhibitory potential of Grifola frondosa bioactive fractions on αamylase and αglucosidase for management of hyperglycemia."Biotechnology and applied biochemistry 60.4 (2013): 446-452.
Ma, Xiaolei, et al. "A polysaccharide from Grifola frondosa relieves insulin resistance of HepG2 cell by Akt-GSK-3 pathway." Glycoconjugate journal 31.5 (2014): 355-363.
Cui, Feng-Jie, et al. "Induction of apoptosis in SGC-7901 cells by polysaccharide-peptide GFPS1b from the cultured mycelia of< i> Grifola frondosa</i> GF9801." Toxicology in vitro 21.3 (2007): 417-427.
Soares, Raquel, et al. "Maitake (D fraction) mushroom extract induces apoptosis in breast cancer cells by BAK-1 gene activation." Journal of medicinal food 14.6 (2011): 563-572.
Deng, G., et al. "A phase I/II trial of a polysaccharide extract from Grifola frondosa (Maitake mushroom) in breast cancer patients: immunological effects."Journal of cancer research and clinical oncology 135.9 (2009): 1215-1221.
Nanba, Hiroaki, et al. "Effects of maitake (Grifola frondosa) glucan in HIV-infected patients." Mycoscience 41.4 (2000): 293-295.

Hong, Lei, Ma Xun, and Wu Wutong. "Antidiabetic effect of an αglucan from fruit body of maitake (Grifola frondosa) on KKAy mice." Journal of pharmacy and pharmacology 59.4 (2007): 575-582.

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มะตูม เพื่อสุขภาพ

มะตูมแก้เหนี่อย

เวลาเหนี่อยๆ เพลียๆ หาน้ำมะตูมมาดื่มอาจทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้  เพราะผลมะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย  นอกจากนี้ยังแก้กระหายน้ำ ขับลม แก้ท้องร่วง  บรรเทาอาการท้องผูก  ช่วยระบบย่อยอาหาร  คลายเครียด และทำให้มีสมาธิดี

มารู้จักมะตูมกันก่อน

มะตูม (Bael Fruit) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Aegle marmelos (Linn.) เป็นพืชวงศ์ (Family) rutaceae  ซึ่งเป็นวงศ์ที่พืชมีกลิ่นหอม 
Photo CR: http://culinaryadventuresofthespicescribe.
wordpress.com/












Photo CR: www.herbsign.com

มะตูมเป็นสมุนไพรที่สำคัญในการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย, พม่า และศรีลังกา (แต่เดิมเรียกซีลอน)  โดยสามารถใช้ได้ทั้งส่วน ราก ใบ และผล  

รากมะตูมจะใช้ในการรักษาความผิดปรกติของหัวใจ เจ็บหน้าอก อาการไข้ โรคทางเดินปัสสาวะ และโรคจิตเภท  ส่วนใบมะตูมมีฤทธิ์สมาน ช่วยระบาย ช่วยย่อย ลดไข้ รักษาโรคหู และตาอักเสบ  ผลมะตูมถ้าเป็นผลดิบจะใช้รักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด ส่วนผลสุกมีฤทธิ์สมาน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย บำรุงและฟื้นฟูร่างกาย ช่วยย่อย บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม1,2

สารสำคัญที่พบในผลมะตูม

สารประกอบคูมาริน (เช่น  marmelosin, marmelide, marmesin, luvangetin, aurapten, psoralen และ imperatorin), อัลคาลอยด์ (เช่น  aeglin และ aegelenine), แทนนิน และโพลีแซคคาไรด์ 1,2

การนำผลมะตูมไปใช้ในการป้องกันและรักษาโรค

ผลมะตูมมีคุณสมบัติในการต้านแผลในกระเพาะอาหาร, ต้านเบาหวาน, ลดภาวะไขมันในเลือดสูง, เพิ่มประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย และต้านจุลชีพ1,2

ผลมะตูมกับความเหนี่อย เพลีย

ถ้าลองพิจารณาสรรพคุณของมะตูมตามการแพทย์แผนโบราณแล้วไม่ว่าจะเป็นการแพทย์อายุรเวช หรือ การแพทย์แผนไทย จะกล่าวถึงการบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย และทำให้สดชื่น  ทั้งนี้เพราะอะไร

ว่ากันว่ามะตูมมีคุณสมบัติเป็นสารปรับสมดุล (Adaptogen activity)

สารปรับสมดุลคือ สารที่มีคุณสมบัติที่ทำให้ร่างกายเราทำงานได้อย่างสมดุลทั้งในสภาวะปรกติ และสภาวะที่ร่างกายเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น  พูดง่ายๆก็คือสารที่ทำให้ร่างกายเราทนต่อสภาพการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น

จากการศึกษาในหนูทดลองหลายๆแบบได้แก่ บังคับให้ว่ายน้ำจนเหนื่อยแล้วให้มาทดสอบการเคลื่อนไหว, ให้ว่ายในน้ำที่เย็น (อุณหภูมิ 20 องศา) และการตุ้นให้เกิดภาวะเครียด  พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดจากผลมะตูมจะมีการเคลื่อนไหวหลังว่ายน้ำที่ดีกว่า  สามารถว่ายในน้ำเย็นได้นานกว่า และมีค่าที่บ่งชี้ถึงการปรับดุลในภาวะเครียดที่ดีกว่า3

สารสกัดจากมะตูมมีคุณสมบัติที่ทำให้คลายเหนื่อย

โดยชะลอการสะสมกรดแลกติก เพิ่มการนำไขมันไปใช้ และเพิ่มการสังเคราะห์กล้ามเนื้อในหนูที่ทำการทดสอบว่ายน้ำ  ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้มีส่วนช่วยในการลดความเหนี่อยล้า และเพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายมากขึ้น4

ถึงแม้ว่ายังมีงานวิจัยไม่มากนักเกี่ยวกับสรรพคุณการบำรุงกำลัง แก้อาการเหนื่อยล้าของมะตูม  แต่ผลของการศึกษาที่กล่าวมาในข้างต้นก็พอจะชี้ให้เห็นว่าภูมิปัญาโบราณกล่าวไว้ไม่ผิด

ถ้ารู้สึกเหนื่อยเพลียไม่ว่าจากงาน หรือออกกำลังกาย หาน้ำมะตูมมาทานให้ชื่นใจก็ดีเหมือนกันน่ะคะ

ที่มา
Maity, P., Hansda, D., Bandyopadhyay, U., & Mishra, D. K. (2009). Biological activities of crude extracts and chemical constituents of Bael, Aegle marmelos (L.) Corr. Indian J Exp Biol, 47(11), 849-861.
Dhankhar, S., Ruhil, S., Balhara, M., Dhankhar, S., & Chhillar, A. K. (2011). Aegle marmelos (Linn.) Correa: A potential source of Phytomedicine. J Med Plant Res, 5(9), 1497-1507.
Duraisami, R., Mohite, V. A., & Kasbe, A. J. (2010). Antistress adaptogenic activity of standardized dried fruit extract of Aegle marmelos against diverse stressors. Asian J Pharm Clin Res, 3(4), 1-3.

Nallamuthu, I., Tamatam, A., & Khanum, F. (2014). Effect of hydroalcoholic extract of Aegle marmelos fruit on radical scavenging activity and exercise-endurance capacity in mice. Pharmaceutical biology, 52(5), 551-559.