หม่อน(White Mulberry)
ชื่อวงศ์ Moraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus
alba Linn.
หม่อนมีประวัติอันยาวนานในการนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณของจีน
โดยสามารถใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก,ใบ และผล
ในที่นี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของใบหม่อน
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในใบหม่อน(1)
ฟลาโวนอล ได้แก่ รูทิน(Rutin) และเควอซีทิน(Querceitin) และอนุพันธ์น้ำตาลของมัน เช่น เควอซีทินไตรกูลโคซัยท์(Quercetin-3-triglucoside)
ฟลาโวน ได้แก่ อะพิจีนิน(Apigenin)
ไตรเตอร์พีน ได้แก่ ลูพีออล(Lupeol)
สเตอรอล ได้แก่ เบต้าไซโตสเตอรอล(β-Sitosterol)
นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญที่พบในใบหม่อนซึ่งค่อนข้างมีบทบาทมากในระยะหลังๆ
เกี่ยวกับความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือดคือ 1-ดีอ๊อกซีโนจิริมัยซิน(1-Deoxynojirimycin)(2,3)
คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค
ลดระดับน้ำตาลในเลือด
พบคุณสมบัติในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์อัลฟาอไมเลสทำให้ลดการสลายตัวของแป้งในหลอดทดลอง(1)
จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า
- สามารถฟื้นฟูการทำงานของเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของหนูที่เป็นเบาหวานซึ่งมีความข้องเกี่ยวในการผลิตอินซูลินจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหนูลดลง(1)
- สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และปรับปรุงระบบการเผาผลาญน้ำตาลของหนูที่เป็นเบาหวานโดยการส่งเสริมการนำส่งกูลโคสเข้าสู่ตับและเพิ่มการสังเคราะห์ไกลโคเจน(4,5)
- ทั้งผงใบหม่อนและสารสกัดจากใบหม่อนสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้(6)
- จากการศึกษาในหนูที่ให้กินน้ำตาลมากเกินพบว่าสามารถทำให้ระดับกูลโคสหลังได้กินทั้งในหนูปรกติ และหนูที่เป็นเบาหวานลดลงโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ disaccharidaes ทำให้การย่อยสลายและการดูดซึมน้ำตาลช้าลง (7) เช่นเดียวกับอีกการศึกษาหนึ่งที่พบคุณสมบัติการลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทาน(8)
มีการศึกษาในมนุษย์โดยใช้ใบหม่อนสกัดที่อุดมไปด้วยสาร
1-Deoxynojirimycin ซึ่งพบว่ามีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการรับประทานสารละลายน้ำตาลได้(2)
นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้อีกด้วย(3)
มีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานชาใบหม่อนสามารถลดได้ทั้งระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง(9)
และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีในช่วง
30 นาทีแรกภายหลังรับประทานในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน(10)
ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน
สืบเนื่องจากความสามารถในการลดการดูดซึมของน้ำตาลภายหลังรับประทานทำให้ประโยชน์ที่ตามมาคือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้ เพราะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุลคือหัวใจสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก
มีการศึกษาในหนูทดลองพบน้ำหนักตัวที่ลดลงของหนูที่กินใบหม่อนอบแห้งผสมในอาหารเป็นเวลา
28 วันโดยที่ปริมาณอาหารการกินเท่าเดิม(11)
สารสกัดด้วยอัลกฮอล์ของใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านโรคอ้วนในหนูที่ถูกกระตุ้นให้อ้วนด้วยอาหาร(12)
ลดระดับไขมันในเลือด
มีการศึกษาผลของการกินใบหม่อนในรูปเม็ดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงระดับปานกลางพบว่ามีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์
และคอลเลสเตอรอลชนิดเลวลดลง ในขณะที่คลอเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้น(13)
และอีกการศึกษาหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูงรับประทานชาใบหม่อนพบว่ามีระดับคอลเลสเตอรอล
และไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงเช่นกัน(9)
ลดอาการกระวนกระวาย
สารสกัดจากใบหม่อนสามารถลดอาการเกร็ง
กระสับกระส่าย กระวนกระวาย พฤติกรรมก้าวร้าว ระงับความกังวล และเพิ่มเวลาการนอนในหนูทดลอง ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคที่มีความผิดปรกติทางจิตได้(1,14)
ต้านจุลชีพ
สารสกัดจากใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย
ได้แก่ Staphylococcus
aureus, Pseudomonas
aeruginosa, Streptococcus faecium,
Escherichia coli, Neisseria
gonorrheae และ Proteus vulgaricus และเชื้อรา
ได้แก่ Aspergillus niger,
Aspergillus tamari, Fusarium
oxysporum และ Penicilium oxalicum ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นการสนับสนุนถึงการใช้ใบหม่อนในการแพทย์แผนโบราณในโรคที่ข้องเกี่ยวกับการติดเชื้อได้แก่
ท้องร่วง, ลำไส้ติดเชื้อ, เจ็บคอ, โรคผิวหนัง, การติดเชื้อในหู
และไข้จากการติดเชื้อเป็นต้น(15)
ปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน
และประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง และยังมีคุณสมบัติลดภาวะภูมิไวเกิน(1,16)
ต้านอนุมูลอิสระปกป้องเซลล์
สารสำคัญต่างๆที่พบในใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านอนมูลอิสระ
สามารถปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ เช่น เซลล์ไต และตับ เป็นต้น(1)
ที่มา
- DEVI, B., SHARMA, N., KUMAR, D., & JEET, K. (2013). MORUS ALBA LINN: A PHYTOPHARMACOLOGICAL REVIEW. International Journal of Pharmacy & Pharmaceutical Sciences, 5.
- Kimura, T., Nakagawa, K., Kubota, H., Kojima, Y., Goto, Y., Yamagishi, K., ... & Miyazawa, T. (2007). Food-grade mulberry powder enriched with 1-deoxynojirimycin suppresses the elevation of postprandial blood glucose in humans. Journal of agricultural and food chemistry, 55(14), 5869-5874.
- Kojima, Y., Kimura, T., Nakagawa, K., Asai, A., Hasumi, K., Oikawa, S., & Miyazawa, T. (2010). Effects of mulberry leaf extract rich in 1-deoxynojirimycin on blood lipid profiles in humans. Journal of clinical biochemistry and nutrition,47(2), 155.
- GONG, Y., SHEN, X. Z., ZHANG, X., & ZHU, L. (2011). Effect of mulberry leaf polysaccharide on sugar metabolism and oxidative stress in brain tissue of diabetic rats. Journal of Northwest Normal University (Natural Science), 4, 021.
- FANG, F., WU, X. R., LUO, M. L., & Lü, H. (2011). Effect of bioactive components in mulberry leaves on glucose metabolism in insulin-resistant HepG2 cells. Journal of Guangdong Pharmaceutical University, 6, 034.
- กัญญา แมดเจริญ, สุดารัตน์ โต้ชาลี, ชูศรี ตลับมุข และสนอง จอมเกาะ. (2550). ผลของใบหม่อนและสารสกัดใบหม่อน(Morus alba L.) ต่อค่าทางโลหิตวิทยา ปริมมาตร และคุณสมบัติทางเคมีของน้ำปัสสาวะในหนูเบาหวาน. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก 5(ฉบับเสริม): 68.
- กัลยา อนุลักขณาปกรณ์, บรรจง ชาวไร่, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, ทรงพล ผดุงพัฒน์, ยุวดี เมตตาเมธา, ว่าที่ร้อยตรี ธนวัฒน์ ทองจีน และเรวดี บุตราภรณ์. (2551). ฤทธิ์ของสารสกัดใบหม่อนในการควบคุมภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกินหลังอาหาร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 6: 341-350.
- กัลยา อนุลักขณาปกรณ์, บรรจง ชาวไร่, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, ทรงพล ผดุงพัฒน์, ยุวดี เมตตาเมธา, ว่าที่ร้อยตรี ธนวัฒน์ ทองจีน และเรวดี บุตราภรณ์. (2551). ฤทธิ์ของสารสกัดใบหม่อน (Morus alba L.) ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรท. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 6(ฉบับเสริม): 41
- พญ.ยุพยง บรรจบพุดซา. (2555). การศึกษาประสิทธิภาพของชาใบหม่อนต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ปริวรรต ศุกรีเขตร. (2555). ผลของชาใบหม่อนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความไวต่ออินซูลินในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน และผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน. มหาวิทยลัยแม่ฟ้าหลวง
- วีรนุช นิลนนท์, รัชวรรณ ลิ้มวิวัฒน์กุล และเพทาย หิรัฐฃญพันธุ์. (2553). ผลของใบหม่อน (Morus alba L.) ที่ผสมในอาหารต่อน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดของหนูเมาส์สายพันธุ์ Swiss Albino ปกติ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8(ฉบับเสริม): 60
- Oh, K. S., Ryu, S. Y., Lee, S., Seo, H. W., Oh, B. K., Kim, Y. S., & Lee, B. H. (2009). Melanin-concentrating hormone-1 receptor antagonism and anti-obesity effects of ethanolic extract from< i> Morus alba</i> leaves in diet-induced obese mice. Journal of ethnopharmacology, 122(2), 216-220.
- Aramwit, P., Petcharat, K., & Supasyndh, O. (2011). Efficacy of mulberry leaf tablets in patients with mild dyslipidemia. Phytotherapy research, 25(3), 365-369.
- Yadav, A. V., Kawale, L. A., & Nade, V. S. (2008). Effect of Morus alba L.(mulberry) leaves on anxiety in mice. Indian journal of pharmacology, 40(1), 32.
- Toyinbo, E. O., Adevvumi, O. J., & Adekunle, E. A. (2012). Phytochemical analysis, nutritional composition and antimicrobial activities of white mulberry (Morus alba). Pakistan Journal of Nutrition, 11(5), 456-460.
- Bharani, S. E. R., Asad, M., Dhamanigi, S. S., & Chandrakala, G. K. (2010). IMMUNOMODULATORY ACTIVITY OF METHANOLIC EXTRACT OF MORUSALBA LINN.(MULBERRY) LEAVES. Pakistan journal of pharmaceutical