หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตรีผลาเพื่อสุขภาพ

ตรีผลา(Triphala)


เป็นตำรับที่ใช้ในการแพทย์อายุรเวทและการแพทย์แผนไทย ตรีผลาประกอบไปด้วยสมุนไพร 3 ชนิดคือ มะขามป้อม สมอไทย และสมอพิเภก ซึ่งสัดส่วนการผสมขึ้นอยู่กับตำรับที่ใช้ เช่นในการแพทย์อายุรเวทของอินเดียจะใช้อัตราส่วน 1:1:1(1) ส่วนการแพทย์แผนไทยจะใช้ในหน้าร้อนโดยมีสัดส่วนการผสมต่างกันขึ้นกับกองสมุฏฐานโรค เช่น แก้เสมหะสมุฏฐาน(โรคธาตุน้ำในหน้าร้อน)ใช้อัตราส่วนมะขามป้อม:สมอไทย:สมอพิเภกคือ 12:4:8  แก้ปิตตะสมุฏฐาน(โรคธาตุไฟในหน้าร้อน)ใช้อัตราส่วน 4:8:12 เป็นต้น(2)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ, ปกป้องเซลล์จากรังสี, ต้านอักเสบ, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด, ต้านภาวะชราภาพ, ต้านจุลชีพ, ต้านไวรัส, ต้านมะเร็ง, ต้านเบาหวาน, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน(1,6)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

โรคมะเร็ง

สมุนไพรทั้ง 3 ตัวแต่ละตัวที่เป็นส่วนผสมในตรีผลา รวมถึงส่วนผสมตรีผลาเองนั้นมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง โดยมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก ทำลายเซลล์มะเร็ง ต้านการกลายพันธุ์ของเซลล์ และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงสามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารก่อมะเร็งเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง(1,3,6)
  •  สารสกัดด้วยน้ำของส่วนผสมตรีผลาในอัตราส่วน 1:1:1 มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม และมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 3-5 เท่า เมื่อเทียบกับเซลล์ปรกติ(3)
  •  จากการทดลองป้อนตรีผลาทางปากในหนูทดลองที่มีการปลูกถ่ายเนื้องอกเป็นเวลา 7 วันพบว่าขนาดเนื้องอกของหนูทดลองมีขนาดเล็กลงซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติในการกระตุ้นการตายของเซลล์เนื้องอก(3)
  • มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับอ่อน โดยจากการป้อนตรีผลาทางปากในหนูทดลองที่ปริมาณ 50 หรือ 100 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สามารถยับยั้งการเจริญของเนื้องอกตับอ่อนได้
  • กรดกัลลิก(Gallic acid)ที่พบในตรีผลาถือเป็นสารประกอบฟินอลิกที่สำคัญที่มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง(1,3)
  • มีความเฉพาะเจาะจงในการกระตุ้นการเกิดออกซิเดชั่นเฉพาะภายในเซลล์มะเร็ง และต้านออกซิเดชั่นเฉพาะในเซลล์ปรกติ ทำให้เร่งการทำลายของเซลล์มะเร็งและปกป้องเซลล์ปรกติจากอนุมูลอิสระ(1,3,6)
  • มีประสิทธิภาพในการเข้าไปจับการสารก่อมะเร็งซึ่งสามารถลดการเกิดเนื้องอกในหนูทดลองได้ 77.77% และ 66.66% ในการศึกษาระยะสั้น และระยะยาวตามลำดับ(1)
  • สารสกัดด้วยน้ำของตรีผลามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์จากการทำลายของรังสี รวมถึงผลข้างเคียงจากการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยจากการป้อนตรีผลาทางปากในหนูทดลองเป็นเวลา 7 วัน ก่อนและหลังการฉายรังสีพบว่าสามารถลดอัตราการตายของหนูเนื่องจากการฉายรังสีได้(1,3,6)


โรคเครียด

ตรรีผลามีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นที่มีประสิทธิภาพจึงช่วยลดการทำลายของเซลล์จากอนุมูลอิสระเนื่องจากภาวะความเครียด และช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น(6)
  • จากการศึกษาในหนูทดลองที่มีการกระตุ้นให้เกิดความเครียดด้วยความหนาวเย็น(ให้อยู่ในที่อุณหภูมิ 8oC วันละ 16 ชั่วโมงเป็นเวลา 15 วัน) พบว่าหนูที่ได้รับตรีผลาในปริมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.เป็นเวลา 48 วัน(ได้รับก่อนเข้าสู่สภาวะหนาวเย็น 33 วัน และได้รับต่อเนื่องตลอดช่วงอยู่ในสภาวะหนาวเย็น 15 วัน รวมได้รับทั้งหมด 48วัน) สามารถลดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกาย และพฤติกรรมต่างๆที่เกิดจากความเครียดเนื่องจากความหนาวเย็นได้(4)
  • จากการศึกษาในหนูทดลองที่มีการกระตุ้นให้เกิดความเครียดด้วยเสียงดัง(100 เดซิเบล วันละ 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 15 วัน) พบว่าหนูที่ได้รับตรีผลาในปริมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.เป็นเวลา 48 วัน สามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงการต้านออกซิเดชั่น และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเนื่องจากความเครียดได้(5)


โรคเบาหวาน

ตรีผลามีคุณสมบัติในการต้านโรคเบาหวาน(6)
  • จากการให้สารสกัดตรีผลาในหนูทดลองที่ได้รับอาหารน้ำตาลสูงพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาปรกติได้(7
  • จากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน(non insulin dependent Diabetes mellitus) พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับตรีผลาผงปริมาณ 5 กรัม เป็นเวลา 45 วัน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ(8)


โรคข้ออักเสบ

ตรีผลามีคุณสมบัติในการต้านอักเสบที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถต้านโรคข้ออักเสบได้(1,6)
  • จากการศึกษาในหนูทดลองที่มีการกระตุ้นให้มีอาการข้ออักเสบพบว่าหนูที่ได้รับตรีผลาในปริมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาที่ใช้ในการรักษาข้ออักเสบ(9)

ฟันผุ

ตรีผลาสามารถช่วยควบคุมคราบแบคทีเรียบนผิวฟัน(plaque) การอักเสบของเหงือก และการเจริญของเชื่อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเคียงน้ำยาบ้วนปาก(1,6)

โรคติดเชื้อต่างๆ

ตรีผลามีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิด โดยการรับประทานตรีผลาเป็นประจำทุกวันจะช่วยควบคุมการติดเชื้อที่บริเวณลำไส้เล็ก(Enteric infection)ได้(1,6)

ท้องเสีย/ท้องผูก

ตรีผลามีคุณสมบัติในการลดอาการท้องเสีย และมีฤทธิ์ระบายสำหรับอาการท้องผูก(6)

โรคอ้วน

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าตรีผลามีคุณสมบัติในการต้านโรคอ้วนเนื่องจากสารประกอบฟินอลิก กรดกัลลิก และกำลังดำเนินการศึกษาทางคลีนิกในคนถึงประสิทธิภาพในการต้านโรคอ้วน(6)

บาดแผล

ขึ้ผึ้งที่ทำจากตรีผลามีคุณสมบัติในการสมานแผล โดยลดจำนวนแบคทีเรียบนแผล และเพิ่มการสร้างคอลลาเจน(1,6)

การศึกษาความเป็นพิษ

ตรีผลาจัดเป็นตำรับสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงทั้งตัวสมุนไพรแต่ละตัวที่เป็นส่วนประกอบหรือการผสมรวมกันทั้งสามตัว
  • จากการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันของตรีผลาในหนูขาวเพศผู้ และเพศเมียที่ปริมาณการได้รับสูงถึง 23.04 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน(64 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน) เป็นเวลา 10 วัน พบว่าตำรับแก้เสมหะสมุฏฐานไม่พบความเป็นพิษในหนูทั้งสองเพศ แต่จะพบความไวต่อพิษในหนูเพศเมียในตำรับปิตตะสมุฏฐานซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของการสะสมไขมันที่ตับ และภาวะแคลเซียมเกาะที่เนื้อไต(nephrocalcinosis) และตำรับวาตะสมุฏฐานซึ่งเกิดภาวะแคลเซียมเกาะที่เนื้อไต และ Hydrocalyx มากกว่าชุดควบคุม(2
  • สารสกัดจากสมุนไพรทั้ง 3 ตัวในตรีผลาไม่มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื้อ(Cytotoxic)(3)
  • ไม่พบความเป็นพิษในหนูทดลองของสารสกัดสมอไทยด้วยอัลกอฮอล์ที่ปริมาณ 500 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน เป็นเวลา 30 วัน(3)
  • การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดมะขามป้อมพบว่ามีค่า LD50 มากกว่า 5000 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในหนูทดลอง(3)
  • ค่า LD50 ของสารสกัดสมอพิเภกด้วยอัลกอฮอล์มีค่า 4.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และไม่พบความเป็นของสารสกัดสมอพิเภกด้วยที่ปริมาณ 3.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในหนูทดลอง(3)


การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ

ในการแพทย์อายุรเวทตรีผลาจัดเป็นตำรับยาที่ฟื้นฟู และให้ความสมดุลของระบบ 3 ระบบได้แก่ วาตะ ปิตตะ และคัพพะ(1)

ตรีผลามีฤทธิ์ระบาย, ขับสารพิษ, ช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหาร และฟื้นฟูร่างกาย และยังมีการใช้ในโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ลดระดับคลอเรสเตอรอล การทำงานของตับไม่สมบรูณ์ ลำไส้ใหญ่ติดเชื้อ และแผลในกระเพาะอาหาร(10)

ที่มา

  1. Gowda, D. V., Muguli, G., Rangesh, P. R., & Deshpande, R. D.(2012) PHYTOCHEMICAL AND PHARMACOLOGICAL ACTIONS OF TRIPHALA: AYURVEDIC FORMULATION-A REVIEW. Int J Pharm Sci Rev Res, 15(2), no12, 61-65
  2. ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ.(1996). พิษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณตรีผลา. ว. กรมวิทย์ พ.38(3):169-191
  3. Wongnoppavich, A., Jaijoi, K., & Sireeratawong, S. (2009). Triphala: The Thai traditional herbal formulation for cancer treatment. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 31(2), 139-149.
  4. Dhanalakshmi, S., Devi, R. S., Srikumar, R., Manikandan, S., & Thangaraj, R. (2007). Protective effect of Triphala on cold stress-induced behavioral and biochemical abnormalities in rats. Yakugaku Zasshi, 127(11), 1863-1867.
  5. Srikumar, R., Parthasarathy, N. J., Manikandan, S., Narayanan, G. S., & Sheeladevi, R. (2006). Effect of Triphala on oxidative stress and on cell-mediated immune response against noise stress in rats. Molecular and cellular biochemistry, 283(1-2), 67-74.
  6. Mohammad, K., & Larijani, B. A systematic review of the antioxidant, anti-diabetic, and anti-obesity effects and safety of triphala herbal formulation. Journal of Medicinal Plants Research Vol. 7(14), pp. 831-844, 10 April, 2013
  7. Prativadibhayankaram, V. S.; Samir Malhotra; Promila Pandhi; Amritpal Singh, 2008: Anti-diabetic activity of Triphala fruit extracts, individually and in combination, in a rat model of insulin resistance. Natural Product Communications 3(2): 251-256.
  8. Rajan, S. S., & Antony, S. (2008). Hypoglycemic effect of triphala on selected non insulin dependent Diabetes mellitus subjects. Ancient science of life,27(3), 45.
  9. Sabina, E. P., & Rasool, M. (2007). Therapeutic efficacy of Indian ayurvedic herbal formulation triphala on lipid peroxidation, antioxidant status and inflammatory mediator TNF-α in adjuvant induced arthritic mice. Int J Biol Chem, 1(3), 149-155.
  10. Mukherjee, P. K., Rai, S., Bhattacharyya, S., Debnath, P. K., Biswas, T. K., Jana, U., ... & Paul, P. K. (2006). Clinical Study of'Triphala'-A Well Known Phytomedicine from India. Iranian Journal of Pharmacology & Therapeutics (IJPT), 5(1), 51-54.

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมอพิเภกสมุนไพรป้องกันโรค


สมอพิเภก(Beleric Myrobalan หรือ Bastard Myrobalan)


ชื่อวงศ์(Family name) : Combretaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica Roxb.

เป็นพืชที่ปลูกมากในอินเดีย,ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในสมอพิเภก


ไตรเตอร์ปินอยด์(Triterpenoid) เช่น เบลเลอริคานิน(Bellericanin)(1)

ไฟโตสเตอรอล(Phytosterol) เช่น เบต้าไซโตสเตอรอล(β-sitosterol)(1)

กรดฟินอลิก เช่น กรดกัลโตแทนนิก(Gallto-tannic acid), กรดอัลลาจิก(Ellagic acid), กรดกัลลิก(Gallic acid)(1)

ลิกแนน(Lignan) เช่น เทอร์มิลิกแนน(termilignan),ธานนิลิกแนน(thanni lignin), อโนลิกแน(anolignan B1)(1)

ฟลาโวนอยด์ เช่น 7 hydroxy. 3, 4 (Methylenedioxy) flavones(1)

กลุ่มแทนนิน(Tannin) ที่มีกรดชิบูลาจินิก(Chebulagenic acid), เอทิลกัลเลท(Ethyl gallate), กรดอัลลาจิก(Ellagic acid), กัลลอยล์กลูโคส(galloyl glucose), ฟีนิลเล็มบลิน(phenyllemblin)(1)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย


ต้านอนุมูลอิสระ,ต้านจุลชีพ,ลดระดับคลอเรสเตอรอล และไขมันในเลือด,ลดระดับน้ำตาลในเลือด,กระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน,ลดความดันโลหิต,ขยายหลอดลม,ปกป้องตับ

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค


ท้องเสีย/ท้องร่วง


จากการทดลองในหนูทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งของน้ำและเกลือแร่จากลำไส้จึงช่วยลดอาการถ่ายท้อง และมีคุณสมบัติในการระงับอาการปวดเกร็งซึ่งช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องจากถ่ายท้อง(1,2)

โรคเบาหวาน


มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน และเพิ่มประสิทธิภาพของการต้านออกซิเดชั่นในหนูทดลอง(1)

หอบหืด


มีคุณสมบัติป้องกันการหดเกร็งของหลอดลมในหนูทดลอง(2)

โรคตับ


ปกป้องตับจากสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ในหนูทดลอง(1),ปกป้องตับจากภาวะเหล็กเกิน(iron overload)ในหนูทดลอง(3)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ


ในการแพทย์อายุรเวชสมอภิเภกจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาขับเสมหะ(expectorant) และมีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาบางตำรับที่ช่วยในการขับถ่าย

ผลสมอภิเภกมีฤทธิ์ฝาดสมาน, ช่วยย่อย, ขับพยาธิ, ระบายอ่อนๆ(Aperient), ขับเสมหะ, ระงับปวด(Anodyne), ห้ามเลือด(Stypic), ระงับประสาท, ระงับปวด, แก้คลื่นไส้ และฟื้นฟูเซลล์(Rejuvenating)(1)


ที่มา

1. Motamarri, N. S., Karthikeyan, M., Kannan, M., & Rajasekar, S. (2012). Terminalia belerica. Roxb-A Phytopharmacological Review. Int. J. Res. Pharma and Biomed Science, 3, 96-99.

2. Gilani, A. H., Khan, A. U., Ali, T., & Ajmal, S. (2008). Mechanisms underlying the antispasmodic and bronchodilatory properties of< i> Terminalia bellerica</i> fruit. Journal of ethnopharmacology, 116(3), 528-538.

3. Hazra, B., R. Sarkar and N. Mandal, 2012. Protection of Terminalia belerica Roxb. against iron overload induced liver toxicity: An account of its reducing and iron chelating capacity. Am. J. Pharmacol. Toxicol., 7: 109-122.

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมอไทยสมุนไพรป้องกันโรค

สมอไทย(Haritaki หรือ Black Myrobalan)

ชื่อวงศ์(Family name) : Combretaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.

เป็นพืชที่นิยมขึ้นในบริเวณที่มีฝนตกเล็กน้อย(100-150 ซม./ปี) อากาศค่อนข้างเย็น(0-17oC) พบในประเทศเนปาล ศรีลังกา พม่า บังคลาเทศ อียิป อีหร่าน เตอร์กี ปากีสถาน ยูนาน ทิเบต อินเดีย และจีน(1)
สมอไทยเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยากว้างจึงนิยมมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณ โดยชาวทิเบตได้ขนานนามให้สมอไทยว่าเป็น “ราชาแห่งยา(King of medicine)”(1,2)

ชื่อสมอไทยตามภาษาสันสกฤตคือ ฮาริตากิ(Haritaki) ซึ่งสามารถตีเป็นความหมายได้ว่าพืชที่ปลูกในดินแดนแห่งเทพศิวะ และมีคุณสมบัติในการรักษาได้ทุกโรค(2)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในสมอไทย

กลุ่มแทนนิน(Tannin) พบมากถึง 32% ซึ่งเป็นชนิดไฮโดรไลซ์แทนนิน(Hydrolizable tannins) ที่มีกรดชิบูลินิก(Chebulinic acid), กรดชิบูลาจิก(Chebulagic acid), กรดกัลลิก(Gallic acid), คลอริลาจิน(Chlorilagin) และกรดอัลลาจิก(Ellagic acid) เป็นส่วนประกอบหลัก(1,2)
กรดฟินอลิก(Phenolic acid) ได้แก่ Gallic acid, Ellagic acid, Chebulinic acid, Chebulagic acid และ Chlorilagin(3)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ,ต้านแบคทีเรีย,ต้านเชื้อรา,ต้านปรสิต,ต้านไวรัส,ต้านอักเสบ,ต้านการกลายพันธุ์,ป้องกัน และต้านมะเร็ง,ลดระดับน้ำตาลในเลือด,ลดระดับไขมันและคลอเรสเตอรอลในเลือด,ต้านภูมิแพ้ชนิดรุนแรง,ระงับปวด,ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร,ต้านภาวะชราภาพ,ปกป้องเซลล์จากรังสี,ปกป้องตับ,ปกป้องหัวใจ(1,2,3)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร

มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อเฮลิโคแบกเตอร์ ไพโลไร(Helicobacter pyroli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ, แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพราะอาหาร(1)
เพิ่มการหลั่งของเมือก และลดการหลังกรดในกระเพาะของหนูทดลองจึงช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร(1,3)

ท้องเสีย/ท้องร่วง

สามารถยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้(1)

ไข้ไทฟอยด์

มีฤทธิ์ต้านไข้ไทฟอย์ดในหนู(3)

โรคเอดส์

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรรัสเอดส์(1)

โรคเริม

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัสโรคเริม(1,3)

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส(โรคติดเชื้อ CMV)

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัสโรคติดเชื้อ CMV(Cytomegalo Virus)(1,3)

โรคมะเร็ง

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญ และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งเช่น เซลล์มะเร็งเต้านม,มะเร็งกระดูก,มะเร็งลำไส้ใหญ่,มะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งต่อมลูกหมาก(1,3)
มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งโดยเข้าไปทำกับสารก่อมะเร็งต่างๆ(1)

โรคตับ

ปกป้องตับจากสารพิษต่างๆ รวมถึงพิษจากยาที่ใช้ในการรักษาโรค(1)

โรคเบาหวาน

มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลินในหลอดทดลอง(1,3)

โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

มีคุณสมบัติในการลดระดับฮิสตามีนที่เกิดจากการแพ้อย่างรุนแรง(1)

ภาวะชราภาพ

ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระโดยพบว่าป้องกันหดสั้นลงของธีโลเมีย(Telomere)ของดีเอ็นเอเนื่องจากความเครียดออกซิเดชั่นเนื่องจากภาวะชราภาพ ทำให้เซลล์มีอายุยืนยาวขึ้นอีก 40% จากการศึกษาในหลอดทดลอง(1)
ยับยั้งการเสื่อมของสภาพผิวเนื่องจากวัยชรา(1)

โรคหัวใจ

ป้องกันการเกิดหัวใจขาดเลือดเฉพาะส่วนในหนูทดลอง(1,3)
ลดระดับไขมัน และคลอเรสเตอรอลในเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดในสัตว์ทดลอง(1)

ฟันผุ

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในช่องปาก(3)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ

สมอไทยจัดเป็นสมุนไพรที่สำคัญในลำดับต้นๆในการนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณในประเทศอินเดีย เช่น การแพทย์อายุรเวท, การแพทย์สิทธา และการแพทย์อูนานิ(Unani medicine)ของมุสลิม นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย และแอฟริกา(1)

สำหรับการแพทย์อายุรเวทนิยมใช้ในการรักษาโรคหอบหืด, ริดสีดวงทวาร, อาการเจ็บคอ, คลื่นไส้อาเจียน และโรคเก๋า ส่วนการแพทย์แผนไทยนิยมใช้ในการขับลม, สมานแผล และขับเสมหะ(1)  

ผลสมอไทยสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภายนอก และภายใน โดยถ้านำไปใช้ภายนอกจะมีคุณสมบัติในการสมานแผล, ลดบวม และทำความสะอาดแผล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในโรคผิวหนังต่างๆ นอกจากนี้น้ำมันจากผลสมอไทยสามารถนำไปช่วยรักษาแผลไฟใหม้ได้ มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบจึงสามารถนำไปใช้กลั้วคอบรรเทาอาการเจ็บคอ และมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพจึงใช้บ้วนปากเพื่อป้องกันฟันผุได้(1)

ในการนำไปใช้ภายในใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร,เนื้องอก,ท้องมาน,ริดสีดวงทวาร,ตับและม้ามโต, ถ่ายพยาธิ และอาการท้องผูก(1)

ที่มา

  1. Gupta, Prakash Chandra. "Biological and pharmacological properties of Terminalia chebula retz.(Haritaki)–An overview." International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences 4 (2012): 62-68.
  2. Muhammad, Said, et al. "The morphology, extractions, chemical constituents and uses of Terminalia chebula: A review." J Med Plants Res 6.33 (2012): 4772-4775.
  3. Ashwini, S., Gajalakshmi, S., Mythili,A. And Sathiavelu.(2011). Terminalia chebula- A Pharmacological Review.Journal of pharmacy Research.4(9):2884-2887.

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มะขามป้อมสมุนไพรป้องกันโรค

มะขามป้อม(Amla หรือ Indian Gooseberry)

ชื่อวงศ์(Family name) : Euphorbiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn., Emblica officinalis Gaertn.

มะขามป้อมเป็นพืชที่ปลูกกันมากในเขตร้อน และบริเวณเหนือหรือใต้เขตร้อนของประเทศจีน, อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน, อุสเบกิสถาน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย และแถบชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของมาเลเซีย(1,2)

มะขามป้อมนิยมนำไปใช้ในตำรับยาแผนโบราณ เช่น การแพทย์สมุนไพรแผนจีน, การแพทย์ทิเบต และการแพทย์อายุรเวท(1) ทั้งนี้ในความเชื่อเก่าแก่ที่เป็นตำนานของชาวอินเดียโบราณเชื่อว่ามะขามป้อมเป็นต้นไม้ต้นแรกที่เกิดขึ้นในจักรวาล(2)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในผลมะขามป้อมโพลีฟีนอล(Polyphenol)


  • กลุ่มแทนนิน(Tannin) ซึ่งเป็นชนิดไฮโดรไลซ์แทนนิน(Hydrolizable tannins)ได้แก่ Geraniin, Isocorilagin, Emblicanin, Pedunculagin และ Puniglucolin(1,3)
  •  กลุ่มฟลาโวนอล(Flavonols) ได้แก่ Quercetin-3-b-D-glucopyranoside, Kaempferol-3-b-D-glucopyranoside, Quercetin, Kaempferol และ Rutin(1,4)
  • กรดฟินอลิก(Phenolic acid) ได้แก่ Gallic acid(4), Chebulagic acid, Ellagic acid และ Chlorogenic acid(4)
  • วิตามินซี(Ascorbic acid)(4)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการออกซิเดชั่นของไขมัน, ลดระดับไขมันในเลือด, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านจุลชีพ, ต้านอักเสบ, ยับยั้งเนื้องอก, ต้านการกลายพันธุ์, ต้านมะเร็ง, ปกป้องเซลล์, ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แสดงออกอย่างเหมาะสม และทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้น, บรรเทาอาการปวด, ลดไข้, บรรเทาอาการไอ, ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆในอาหาร และช่วยในการขับสารพิษ(1,2,3,4,5)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

โรคมะเร็ง

กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง และเซลล์มะเร็งของมนุษย์ในหลอดทดลอง(2,5)
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง(2,5)
ลดการกระตุ้นของสารก่อเนื้องอกตับในหนูทดลอง และลดการกระตุ้นของสารก่อมะเร็งในหนู(2,5)
ยับยั้งการกลายพันธ์ของดีเอ็นเอของสัตว์ทดลอง(2,5)
ลดความพิษของยารักษาโรคมะเร็งไซโคลฟอสฟาไมด์(Cyclophosphamide) ในสัตว์ทดลอง (2)

โรคเบาหวาน

ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง(2)
ชะลอการเป็นโรคต้อกระจกเนื่องจากเบาหวานในหนูทดลอง(2)

โรคตับ

ปกป้องตับจากสารพิษต่างๆ เช่น ป้องกันพิษของอัลกอฮอล์ต่อตับในหนูทดลอง ลดการเกิดผังพืดที่ตับเนื่องจากคาร์บอนเตตระคลอไรด์ในเนื้อเยื้อตับของหนูในหลอดทดลองรวมทั้งในตัวของหนูทดลอง และลดการทำลายเนื้อเยื้อตับเนื่องจากยาต้านวัณโรค(2)

โรคหัวใจ

ต้านการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นของกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในหนูทดลอง(2)

โรคกระเพาะ

ลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารในหนูทดลอง(2)
ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลอง(2)

ความจำเสื่อม

ช่วยในการฟื้นฟูความจำในหนูชรา(2)

การนำไปใช้ในการรักษาแผนโบราณ

ยาสมานแผล(Astringent), ยาบำรุงหัวใจ, ยาขับปัสสาวะ, ยาระบาย, ยาบำรุงตับ, ยาเย็น(Refrigerant), ยาบำรุงธาตุ(Stomachic), ยาบำรุงกำลัง(Restorative), ยาฟอกเลือด(Alterative), ยาลดไข้(Antipyretic), ยาต้านอักเสบ, ยาช่วยย่อย, ยาบำรุงสมองและสุขาภาพจิต, ยาบำรุงปอด(3,5)
ใช้ในการรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆได้แก่ โลหิตจาง, ภาวะกรดในกระเพาะมากเกิน, แผลในกระเพาะอาหาร, กรดไหลย้อน, ถ่ายท้อง, ท้องผูก, ตาอักเสบ, ความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ, ตกขาว, ดีซ่าน, บำรุงประสาทและคลายกังวล, โรคตับ, การไอ, โรคหอบ, หลอดลมอักเสบ, ประจำเดือนมาไม่ปรกติ, โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ(3,5)

ที่มา


  1. Liu, Xiaoli, et al. "Identification of phenolics in the fruit of emblica (< i> Phyllanthus emblica</i> L.) and their antioxidant activities." Food chemistry109.4 (2008): 909-915.
  2. Khan, K. H. "Roles of Emblica officinalis in medicine-a review." Botany Research International 2.4 (2009): 218-228.
  3. Majeed, Muhammed, et al. "Ascorbic Acid and Tannins from Emblica officinalis Gaertn. Fruits A Revisit." Journal of agricultural and food chemistry 57.1 (2008): 220-225.
  4. Sawant, Laxman P. “Development and Validation of HPLC Method for Quantification of Phytoconstituents in Phyllanthus emblica.” J. Chem. Pharm. Res., 2011, 3(4):937-944
  5. Singh, Ekta, et al. "Phytochemistry, traditional uses and cancer chemopreventive activity of Amla (Phyllanthus emblica): the sustainer." Journal of Applied Pharmaceutical Science 2.1 (2011): 176-183.