หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

จันทน์เทศเพื่อสุขภาพ

จันทน์เทศ (Nutmeg)


ชื่อวงศ์(Family name) : Myristicaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myristica fragrans Houtt.


จันทน์เทศเป็นพืชที่ให้เครื่องเทศที่เป็นที่รู้จักกันดี 2 ชนิดคือ ลูกจันทน์(nutmeg)ซึ่งเป็นส่วนของเมล็ด และ ดอกจันทน์(mace)ซึ่งเป็นส่วนเยื้อหุ้มเมล็ด
pic from http://botit.botany.wisc.edu/

จันทน์เทศมีถิ่นกำเนิดจากหมู่เกาะโมลุกกะ และหมู่เกาบันดาในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันปลูกมากในประเทศอินโดนีเซีย, อินเดียแถบตะวันตก และศรีลังกา

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในจันทน์เทศ

  • อนุพันธ์ของเอคิลเบนซีน (Alkyl benzene derivatives) ได้แก่ ไมริสทิซิน(Myristicin), อีรีไมซิน(Eremicin) และ ซาฟโรล(Safrole)
  • เทอร์พีน ได้แก่ อัลฟาไพนีน(alpha-pinene) และ เบต้าไพนีน(Beta-pinene)
  • กรดไขมัน ไมริสติก (Myristic acid)
  • ไขมันไตรไมริสติน (Trimyristin)
ลูกจันทน์เทศมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 10%

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

ต้านจุลชีพ

สามารถต้านได้ทั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค และเชื้อที่ทำให้อาหารเสีย รวมถึงเชื้อที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะ คือเชื้อ Helicobactor pyroli นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านไวรัส เช่น โรต้าไวรัส ซึ่งเป็นโรคท้องร่วงที่พบในเด็ก

ลดระดับไขมัน และระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดจากลูกจันทน์สามารถลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด และยังช่วยป้องกันไขมันเกาะตับ หัวใจ และผนังหลอดเลือดได้

มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้า

พบว่าสามารถต้านอาการซึมเศร้าได้ในสัตว์ทดลอง โดยดูเหมือนว่าสารสกัดจากลูกจันทน์จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารสื่อประสาทในสมอง

กันชัก

พบว่าสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยจากลูกจันทน์ สามารถยับยั้งการชักในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการชักได้

ต้านเบาหวาน

ลิกแนนที่พบในดอกจันทน์มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการตอบสนองของอินซูลินให้ดีขึ้น นอกจากนี้มีการศึกษาสารสกัดลูกจันทน์ด้วยน้ำในหนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวาน พบสามารถลดการถูกทำลายของดีเอ็นเอเนื่องจากโรคเบาหวานได้

เสริมพลังเพศ

พบว่าสัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดจากลูกจันทน์เข้าไปจะเพิ่มกิจกรรมทางเพศมากขึ้นโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ

ทำลายเซลล์มะเร็ง

สารไมริสทิซินในลูกจันทน์มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งได้

เพิ่มความจำ

พบว่าสารสกัดจากลูกจันทน์เพิ่มความสามารถในการจำ และการเีรียนรู้ในสัตว์ทดลองได้

ต้านอนุมูลอิสระ

สารสกัดจากลูกจันทน์ และดอกจันทน์ มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันรังสี

ปกป้องตับ

สารสกัดจากลูกจันทน์สามารถป้องกันตับจากการถูกทำลายเนื่องจากสารเคมีในสัตว์ทดลอง

ต้านอักเสบ

สารไมริสซิทินในลูกจันทน์มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ

สรรพคุณของลูกจันทน์ได้แก่ มีฤทธิ์กระตุ้น ขับลม สมาน และบำรุงพลังเพศ(aphrodisiac) 

การใช้ในตำรับยาแผนโบราณได้แก่ ยาบำรุง ยาป้ายลิ้น ยาแก้ท้องเสีย(Antidiarrhoeal) ยารักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียร แก้ไข้มาเลเลีย รักษาข้ออักเสบ โรคปวดร้าวลงขา(Sciatica) และโรคเรื้อน(Leprosy)ระยะแรก

นอกจากนี้ลูกจันทน์ยังเป็น 1 ใน 3 สมุนไพร พิกัด ตรีพิษจักร ซึ่งประกอบไปด้วย ลูกจันทน์ ผักชีล้อม และกานพลู สรรพคุณคือ แก้ลม แก้พิษเลือด บำรุงโลหิต แก้ปวดท้อง จุกเสียด

ความเป็นพิษ

ไมริสซิทิน ในลูกจันทน์มีฤทธิ์หลอนประสาท โดยค่า NOEL (No Observed Effect Level) ของไมริสซิทินในหนูคือ 10 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 Kg

การบริโภคลูกจันทน์ครั้งเดียวในปริมาณมาก 1-3 ลูก หรือ 5-15 กรัมผงละเอียด(ส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่ต้องการบริโภคเพื่อเสพติด) จะก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ โดยอาการมักเกิดขึ้นภายหลังการบริโภค 6 ชั่วโมงซึ่งอาจเริ่มจากมีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง รวมถึงอาการทางประสาทต่างๆได้แก่ เวียนหัว ประสาทหลอน(Hallucination) มีอาการบุคลิกภาพแตกแยก(Depersonalization)  ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะค่อยๆดีขึ้นภายในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามอาจมีอาการยาวนานกว่านั้น และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หมายเหตุ
โดยปรกติแล้วการใช้จันทน์เทศในรูปแบบต่างๆ เช่น เพื่อเป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร หรือเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยาสมุนไพร จะมีปริมาณการใช้ที่น้อยกว่าปริมาณที่ก่อให้เกิดพิษ 


ที่มา

  1. Jaiswal, P., Kumar, P., Singh, V. K., & Singh, D. K. (2009). Biological Effects of Myristica fragrans. doi: http://dx. doi. org/10.5016/1806-8774.2009 v11p21.Annual Review of Biomedical Sciences, 11, 21-29.
  2. Sonavane, G. S., Palekar, R. C., Kasture, V. S., & Kasture, S. B. (2002). Anticonvulsant and behavioural actions of Myristica fragrans seeds. Indian Journal of pharmacology, 34(5), 332-338.
  3. Wahab, A., Haq, R. U., Ahmed, A., Khan, R. A., & Raza, M. (2009). Anticonvulsant activities of nutmeg oil of Myristica fragrans. Phytotherapy Research, 23(2), 153-158.
  4. Ayman A. Farghaly, Zeinab M. Hassan and Souria M. Donya. Ameliorative potential of Myristica fragrans extract as hypoglycemic agent on oxidative stress produced by diabetes mellitus in mice. Journal of American Science 2012; 8(1):183-189]. 
  5. Ozaki, Y., Soedigdo, S., Wattimena, Y. R., & Suganda, A. G. (1989). Antiinflammatory effect of mace, aril of Myristica fragrans Houtt., and its active principles. Japanese journal of pharmacology, 49(2), 155. 
  6. Lee, J. Y., & Park, W. (2011). Anti-inflammatory effect of myristicin on RAW 264.7 macrophages stimulated with polyinosinic-polycytidylic acid. Molecules,16(8), 7132-7142.
  7. Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (WHO Food Additives Series 60). 06-21-10, http://www.inchem.org/documents/jecfa/jecmono/v60je01.pdf (cited 2012 september 26)
  8. "Myristicin / CAS No. 607-91-0" (pdf). Summary of data for chemical selection. NIH - National Toxicology Program / CSWG. 1997. Available : http://ntp.niehs.nih.gov/ntp/htdocs/Chem_Background/ExSumPdf/Myristicin_508.pdf [2013, September 16]
  9. Brenner, N., Frank, O. S., & Knight, E. (1993). Chronic nutmeg psychosis.Journal of the Royal Society of Medicine, 86(3), 179.
  10. Hallström, H., & Thuvander, A. (1997). Toxicological evaluation of myristicin.Natural toxins, 5(5), 186-192.




วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ขิงเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ 10 ประการจากขิง


  1. มะเร็งรังไข่: กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งรังไข่
  2. มะเร็งลำไส้ใหญ่: ชลอการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
  3. Morning sickness หรือ อาการแพ้ท้อง: มีประสิทธิภาพเทียบเท่าวิตตามินบีในการลดอาการแพ้ท้อง
  4. บรรเทาอาการปวดต้านอักเสบ
  5. Heartburn: บรรเทาอาการแสบหน้าอก(เนื่องจากกรดไหลย้อน)
  6. Motion sickness: บรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ
  7. ป้องกัน และรักษาไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่
  8. บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  9. บรรเทาอาการไมแกรน
  10. Diabetic nephropathy: ลดอุบัติการณ์ไตผิดปรกติเนื่องจากโรคเบาหวาน

ที่มา

Natural Cures Not Medicine: 10 HEALTH BENEFITS OF GINGER