หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกเก็กฮวยเพื่อสุขภาพ

เก็กฮวย(Chrysanthemum)

ชื่อวงศ์(Family name) : Compositae.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysanthemum indicum L.


เก็กฮวยเป็นพืชที่ปลูกกันแพร่หลายในประเทศจีน เป็นสมุนไพรที่มีดอกเล็กๆสีเหลืองซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนที่นำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณคือส่วนที่อยู่เหนือดิน ซึ่งได้แก่ ก้าน ใบ และดอก ในการนำไปรักษาโรคเวียนศรีษะ, อาการต่างๆเนื่องจากความดันโลหิตสูง และใช้ในการรักษาโรคเนื่องจากการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคปอดบวม, ลำไส้อักเสบ, เยื้อบุช่องปากอักเสบ, ฝีฝักบัว(carbuncle) และไข้ต่างๆ(Shunying, et al., 2005)

Photo CR. www.biogang.net

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในดอกเก็กฮวย

ในดอกเก็กฮวยจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.2 % ซึ่งได้แก่ 1,8 cineole, camphor, borneol และ borneol acetate(Shunying, et al., 2005)

นอกจากนี้ยังมีสารประกอบฟินอลิก ได้แก่ rhamnosidoglucoside, lactone และ chrysanthemin เป็นต้น(Joe Hing Kwok Chu, 2010)

คุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรค

ต้านอักเสบ และต้านออกซิเดชั่น

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการผลิตสารก่ออักเสบต่างๆ(Cheon, et al., 2009) และยังสามารถต้านอักเสบที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปรกติของภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง(Lee, et al., 2009)

ฟลาโวนอยด์ที่พบในดอกเก็กฮวยมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ รวมถึงกระตุ้นการตายของเซลล์ที่เยื้อบุข้อที่เป็นสาเหตุของการอักเสบภายในข้อ(Chen, et al., 2008) ซึ่งคุณสมบัตินี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้(Xie, et al., 2008)

สารสกัดด้วยน้ำของดอกเก็กฮวยมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น และสามารถปกป้องตับจากพิษของสารเคมีได้(Jeong, et al., 2013)

ด้วยคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น และต้านอักเสบของสารสกัดจากดอกเก็กฮวยจึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันการทำลายสมองเนื่องจากโรคพาร์คินซันได้(Kim, et al., 2011)

นอกจากนี้ยังพบว่าคุณสมบัติในการต้านอักเสบนั้นยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Huang, et al., 2010) และโรคลำไส้แปรปรวน(Debnath, et al., 2013)

ต้านจุลชีพ

น้ำมันหอมระเหยที่พบในดอกเก็กฮวยมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค และการติดเชื้อ ได้แก่ Staphylococcus saprophyticus และ Escherichia coli(Shunying, et al., 2005) และสารสกัดจากดอกเก็กฮวยสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุในช่องปากได้(Poon, et al., 2011)

มีคุณสมบัติในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ(Zhang, et al., 2006)

ต้านมะเร็ง

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวน และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งตับ(Wang, et al., 2010)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ

ดอกเก็กฮวยตคุณสมบัติเป็นยาเย็น จึงนิยมใช้แก้โรคที่เกิดจากความร้อนซึ่งมีผลโดยตรงต่อปอด และตับ ซึ่งช่วยขจัดความร้อนออกไป จึงมีสรรพคุณ แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บตาบวม(เนื่องจากความร้อนที่ตับ) แก้เวียนหัว รักษาแผล ฝี หนองที่เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อ
Photo CR. http://chilliminicute.wordpress.com/

การนำไปใช้
สำหรับการใช้ภายในหรือรับประทาน ให้ใช้ดอกแห้งประมาณ 5-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มเป็นชา
สำหรับการใช้ภายนอก ให้ใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบที่แผล
(คณะเภสัชศาสตร์ มช. , 2556)

ถ้าเริ่มมีอาการที่จะเป็นหวัดเนื่องจากความร้อน หรือมีอาการร้อนในเนื่องจากการอักเสบ ลองหาชาเก็กฮวยมาดื่มดูน่ะค่ะ ถ้าชอบหวานอาจเติมน้ำผึ้งลงไปเล็กน้อยก็ได้ค่ะ

ที่มา
  • Shunying, Z., Yang, Y., Huaidong, Y., Yue, Y., & Guolin, Z. (2005). Chemical composition and antimicrobial activity of the essential oils of< i> Chrysanthemum indicum</i>. Journal of ethnopharmacology, 96(1), 151-158.
  • Joe Hing Kwok Chu. (2010). ye ju hua  野菊 (online). Available : http://alternativehealing.org/ye_ju_hua.htm
  • Cheon M, Yoon T, Lee do Y, Choi G, Moon BC, et al. (2009) Chrysanthemum indicum Linné extract inhibits the inflammatory response by suppressing NF-kB and MAPKs activation in lipopolysaccharide-induced RAW264.7 macrophages. J Ethnopharmacol 122: 473–477. doi: 10.1016/j.jep.2009.01.034
  • Lee, D. Y., Choi, G., Yoon, T., Cheon, M. S., Choo, B. K., & Kim, H. K. (2009). Anti-inflammatory activity of< i> Chrysanthemum indicum</i> extract in acute and chronic cutaneous inflammation. Journal of ethnopharmacology, 123(1), 149-154.
  • Chen, X. Y., Li, J., Cheng, W. M., Jiang, H., Xie, X. F., & Hu, R. (2008). Effect of total flavonoids of Chrysanthemum indicum on the apoptosis of synoviocytes in joint of adjuvant arthritis rats. The American journal of Chinese medicine,36(04), 695-704.
  • Xie, X. F., Li, J., Chen, Z., Hu, C. M., & Chen, W. W. (2008). Beneficial effect of total flavonoids of Chrysanthemum indicum on adjuvant arthritis by induction of apoptosis of synovial fibroblasts]. Zhongguo Zhong yao za zhi= Zhongguo zhongyao zazhi= China journal of Chinese materia medica, 33(23), 2838.
  • Jeong, S. C., Kim, S. M., Jeong, Y. T., & Song, C. H. (2013). Hepatoprotective effect of water extract from Chrysanthemum indicum L. flower. Chinese medicine, 8(1), 7.
  • Kim, I. S., Ko, H. M., Koppula, S., Kim, B. W., & Choi, D. K. (2011). Protective effect of< i> Chrysanthemum indicum</i> Linne against 1-methyl-4-phenylpridinium ion and lipopolysaccharide-induced cytotoxicity in cellular model of Parkinson’s disease. Food and Chemical Toxicology, 49(4), 963-973.
  • HUANG, Y., HUANG, Y. L., & SU, Y. (2010). Effect of the extraction of Chrysanthemum indicum on the protein expression of TNF-α, IL-6 and pathological morphological changes of lung in chronic bronchitis model of rats.Chinese Journal of Gerontology, 18, 025.
  • Debnath, T., Kim, D. H., & Lim, B. O. (2013). Natural Products as a Source of Anti-Inflammatory Agents Associated with Inflammatory Bowel Disease.Molecules, 18(6), 7253-7270.
  • Poon, D., Wu, L., Zhu, J. S., & Case, C. Investigation Of The Antimicrobial Activity Of Chrysanthemum indicum. Hall 1-2 (San Jose Convention Center). 28 October 2011.
  • ZHANG, Z. Y., FANG, X. P., DIAO, Z. H., ZENG, R. H., & MEI, X. G. (2006). Anti-respiratory Syncytial Virus Effect of the Extraction of Chrysanthemum Indicum in Vitro [J]. Pharmaceutical Journal of Chinese People's Liberation Army, 4.
  • Wang, Z. D., Huang, C., Li, Z. F., Yang, J., Li, B. H., Liang, R. R., ... & Liu, Z. W. (2010). Chrysanthemum indicum ethanolic extract inhibits invasion of hepatocellular carcinoma via regulation of MMP/TIMP balance as therapeutic target. Oncology reports, 23(2), 413-421.
  • คณะเภสัชศาสตร์ มช. (2556). เก็กฮวย (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n75.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น