หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ใบหม่อนเพื่อสุขภาพ

หม่อน(White Mulberry)

ชื่อวงศ์              Moraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์   Morus alba Linn.
Photo CR: http://www.bansuanporpeang.com/

หม่อนเป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย จีน และญี่ปุ่น  แต่ก็มีพบบ้างในประเทศแถบยุโรป อเมริกาเหนือ และแอฟฟริกา  ส่วนใหญ่แล้วหม่อนเป็นพืชที่มีการปลูกกันทั่วไปในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหนอนไหม เนื่องจากใบหม่อนเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงหนอนไหม 
หม่อนมีประวัติอันยาวนานในการนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณของจีน โดยสามารถใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก,ใบ และผล  ในที่นี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของใบหม่อน


องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในใบหม่อน(1)
ฟลาโวนอล ได้แก่ รูทิน(Rutin) และเควอซีทิน(Querceitin)  และอนุพันธ์น้ำตาลของมัน เช่น เควอซีทินไตรกูลโคซัยท์(Quercetin-3-triglucoside)
ฟลาโวน ได้แก่ อะพิจีนิน(Apigenin)
ไตรเตอร์พีน ได้แก่ ลูพีออล(Lupeol)
สเตอรอล ได้แก่ เบต้าไซโตสเตอรอล(β-Sitosterol)
นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญที่พบในใบหม่อนซึ่งค่อนข้างมีบทบาทมากในระยะหลังๆ เกี่ยวกับความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือดคือ 1-ดีอ๊อกซีโนจิริมัยซิน(1-Deoxynojirimycin)(2,3)


คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค

ลดระดับน้ำตาลในเลือด

พบคุณสมบัติในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์อัลฟาอไมเลสทำให้ลดการสลายตัวของแป้งในหลอดทดลอง(1)
จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า
  • สามารถฟื้นฟูการทำงานของเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของหนูที่เป็นเบาหวานซึ่งมีความข้องเกี่ยวในการผลิตอินซูลินจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหนูลดลง(1)
  • สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และปรับปรุงระบบการเผาผลาญน้ำตาลของหนูที่เป็นเบาหวานโดยการส่งเสริมการนำส่งกูลโคสเข้าสู่ตับและเพิ่มการสังเคราะห์ไกลโคเจน(4,5)
  • ทั้งผงใบหม่อนและสารสกัดจากใบหม่อนสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้(6)
  • จากการศึกษาในหนูที่ให้กินน้ำตาลมากเกินพบว่าสามารถทำให้ระดับกูลโคสหลังได้กินทั้งในหนูปรกติ และหนูที่เป็นเบาหวานลดลงโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ disaccharidaes ทำให้การย่อยสลายและการดูดซึมน้ำตาลช้าลง (7) เช่นเดียวกับอีกการศึกษาหนึ่งที่พบคุณสมบัติการลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทาน(8)

มีการศึกษาในมนุษย์โดยใช้ใบหม่อนสกัดที่อุดมไปด้วยสาร 1-Deoxynojirimycin ซึ่งพบว่ามีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการรับประทานสารละลายน้ำตาลได้(2) นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้อีกด้วย(3) 
มีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานชาใบหม่อนสามารถลดได้ทั้งระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง(9)  และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีในช่วง 30 นาทีแรกภายหลังรับประทานในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน(10)

ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน

สืบเนื่องจากความสามารถในการลดการดูดซึมของน้ำตาลภายหลังรับประทานทำให้ประโยชน์ที่ตามมาคือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้  เพราะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุลคือหัวใจสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก
มีการศึกษาในหนูทดลองพบน้ำหนักตัวที่ลดลงของหนูที่กินใบหม่อนอบแห้งผสมในอาหารเป็นเวลา 28 วันโดยที่ปริมาณอาหารการกินเท่าเดิม(11)
สารสกัดด้วยอัลกฮอล์ของใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านโรคอ้วนในหนูที่ถูกกระตุ้นให้อ้วนด้วยอาหาร(12)

ลดระดับไขมันในเลือด

มีการศึกษาผลของการกินใบหม่อนในรูปเม็ดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงระดับปานกลางพบว่ามีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอลเลสเตอรอลชนิดเลวลดลง ในขณะที่คลอเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้น(13) และอีกการศึกษาหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูงรับประทานชาใบหม่อนพบว่ามีระดับคอลเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงเช่นกัน(9)

ลดอาการกระวนกระวาย

สารสกัดจากใบหม่อนสามารถลดอาการเกร็ง กระสับกระส่าย กระวนกระวาย พฤติกรรมก้าวร้าว ระงับความกังวล และเพิ่มเวลาการนอนในหนูทดลอง  ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคที่มีความผิดปรกติทางจิตได้(1,14)

ต้านจุลชีพ

สารสกัดจากใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ได้แก่ Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus faeciumEscherichia coliNeisseria gonorrheae และ Proteus vulgaricus และเชื้อรา ได้แก่  Aspergillus nigerAspergillus tamariFusarium oxysporum และ Penicilium oxalicum  ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นการสนับสนุนถึงการใช้ใบหม่อนในการแพทย์แผนโบราณในโรคที่ข้องเกี่ยวกับการติดเชื้อได้แก่ ท้องร่วง, ลำไส้ติดเชื้อ, เจ็บคอ, โรคผิวหนัง, การติดเชื้อในหู และไข้จากการติดเชื้อเป็นต้น(15)

ปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง และยังมีคุณสมบัติลดภาวะภูมิไวเกิน(1,16)

ต้านอนุมูลอิสระปกป้องเซลล์

สารสำคัญต่างๆที่พบในใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านอนมูลอิสระ สามารถปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ เช่น เซลล์ไต และตับ เป็นต้น(1)

ที่มา

  1. DEVI, B., SHARMA, N., KUMAR, D., & JEET, K. (2013). MORUS ALBA LINN: A PHYTOPHARMACOLOGICAL REVIEW. International Journal of Pharmacy & Pharmaceutical Sciences, 5.
  2. Kimura, T., Nakagawa, K., Kubota, H., Kojima, Y., Goto, Y., Yamagishi, K., ... & Miyazawa, T. (2007). Food-grade mulberry powder enriched with 1-deoxynojirimycin suppresses the elevation of postprandial blood glucose in humans. Journal of agricultural and food chemistry, 55(14), 5869-5874.
  3. Kojima, Y., Kimura, T., Nakagawa, K., Asai, A., Hasumi, K., Oikawa, S., & Miyazawa, T. (2010). Effects of mulberry leaf extract rich in 1-deoxynojirimycin on blood lipid profiles in humans. Journal of clinical biochemistry and nutrition,47(2), 155.
  4. GONG, Y., SHEN, X. Z., ZHANG, X., & ZHU, L. (2011). Effect of mulberry leaf polysaccharide on sugar metabolism and oxidative stress in brain tissue of diabetic rats. Journal of Northwest Normal University (Natural Science), 4, 021.
  5. FANG, F., WU, X. R., LUO, M. L., & Lü, H. (2011). Effect of bioactive components in mulberry leaves on glucose metabolism in insulin-resistant HepG2 cells. Journal of Guangdong Pharmaceutical University, 6, 034.
  6. กัญญา แมดเจริญ, สุดารัตน์ โต้ชาลี, ชูศรี ตลับมุข และสนอง จอมเกาะ. (2550). ผลของใบหม่อนและสารสกัดใบหม่อน(Morus alba L.) ต่อค่าทางโลหิตวิทยา ปริมมาตร และคุณสมบัติทางเคมีของน้ำปัสสาวะในหนูเบาหวาน. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก 5(ฉบับเสริม): 68.
  7. กัลยา อนุลักขณาปกรณ์, บรรจง ชาวไร่, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, ทรงพล ผดุงพัฒน์, ยุวดี เมตตาเมธา, ว่าที่ร้อยตรี ธนวัฒน์ ทองจีน และเรวดี บุตราภรณ์. (2551). ฤทธิ์ของสารสกัดใบหม่อนในการควบคุมภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกินหลังอาหาร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 6: 341-350.
  8. กัลยา อนุลักขณาปกรณ์, บรรจง ชาวไร่, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, ทรงพล ผดุงพัฒน์, ยุวดี เมตตาเมธา, ว่าที่ร้อยตรี ธนวัฒน์ ทองจีน และเรวดี บุตราภรณ์. (2551). ฤทธิ์ของสารสกัดใบหม่อน (Morus alba L.) ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรท. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 6(ฉบับเสริม): 41
  9. พญ.ยุพยง บรรจบพุดซา. (2555). การศึกษาประสิทธิภาพของชาใบหม่อนต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  10. ปริวรรต ศุกรีเขตร. (2555). ผลของชาใบหม่อนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความไวต่ออินซูลินในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน และผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน. มหาวิทยลัยแม่ฟ้าหลวง
  11. วีรนุช นิลนนท์, รัชวรรณ ลิ้มวิวัฒน์กุล และเพทาย หิรัฐฃญพันธุ์. (2553). ผลของใบหม่อน (Morus alba L.) ที่ผสมในอาหารต่อน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดของหนูเมาส์สายพันธุ์ Swiss Albino ปกติ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8(ฉบับเสริม): 60
  12. Oh, K. S., Ryu, S. Y., Lee, S., Seo, H. W., Oh, B. K., Kim, Y. S., & Lee, B. H. (2009). Melanin-concentrating hormone-1 receptor antagonism and anti-obesity effects of ethanolic extract from< i> Morus alba</i> leaves in diet-induced obese mice. Journal of ethnopharmacology, 122(2), 216-220.
  13. Aramwit, P., Petcharat, K., & Supasyndh, O. (2011). Efficacy of mulberry leaf tablets in patients with mild dyslipidemia. Phytotherapy research, 25(3), 365-369.
  14. Yadav, A. V., Kawale, L. A., & Nade, V. S. (2008). Effect of Morus alba L.(mulberry) leaves on anxiety in mice. Indian journal of pharmacology, 40(1), 32.
  15. Toyinbo, E. O., Adevvumi, O. J., & Adekunle, E. A. (2012). Phytochemical analysis, nutritional composition and antimicrobial activities of white mulberry (Morus alba). Pakistan Journal of Nutrition, 11(5), 456-460.
  16. Bharani, S. E. R., Asad, M., Dhamanigi, S. S., & Chandrakala, G. K. (2010). IMMUNOMODULATORY ACTIVITY OF METHANOLIC EXTRACT OF MORUSALBA LINN.(MULBERRY) LEAVES. Pakistan journal of pharmaceutical 

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สะระแหน่ เพื่อสุขภาพ

สะระแหน่(Kitchen Mint)

ชื่อวงศ์                   Lamiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์    Mentha cordifolia Opiz.
สะระแหน่เป็นพืชที่ปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย เป็นพืชในตระกูลมินท์ และวงศ์เดียวกับกระเทียม จึงมีกลิ่นหอมเย็นๆและฉุน
สะระแหน่เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงคู่กับลาบ ยำต่างๆ และยังนำมาทำชาสมุนไพรได้อีกด้วย
 
Photo CR: http://pirun.kps.ku.ac.th/

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในใบสะระแหน่

น้ำมันหอมระเหยได้แก่ Cadinene, Carvone, Coumarin1

คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค


ต้านแบคทีเรีย
สารสกัดด้วยน้ำจากใบสะระแหน่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Klebsiella   pneumonia ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมและปอดอักเสบ1

ลดความดันโลหิต
สารสกัดจากใบสะระแหน่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดในหนูทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ2,3

บรรเทาอาการปวด
สาร Menthalactone ที่พบในใบสะระแหน่มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวด(Analgesic Effect)4

ต้านมะเร็ง
สารสกัดจากใบสะระแหน่มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ยับยั้งการกลายพันธุ์5,6

ระงับกลิ่นปาก
มีการศึกษาในอาสาสมัครทดลองอมยาอมที่มีสะระแหน่เป็นส่วนประกอบพบว่าสามารถลดกลิ่นปากในยามเช้าตอนตื่นนอนได้7

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ8,9,10


การแพทย์แผนจีน
มีรสเผ็ด เย็น มีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย กระจายลมร้อน แก้หวัดจากการกระทบลมร้อน โรคที่มีไข้สูงในระยะแรก มีฤทธิ์ระบายความร้อนให้ศีรษะและทำให้ตาสว่าง แก้ปวดศีรษะ ตาแดง เจ็บคอ คอบวม มีฤทธิ์กระทุ้งและขับหัด อีสุกอีใส สรรพคุณช่วยกระทุ้งหัด อีสุกอีใส แก้ลมพิษ ผดผื่นคัน และมีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายอาการตับและอาการเครียด แก้อาการเครียดแล้วทำให้ชี่ไม่หมุนเวียน อึดอัดบริเวณหน้าอก เจ็บบริเวณชายโครง
การนำไปใช้         ใช้ 3-6 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม

การแพทย์แผนไทย
รสหอมร้อน สรรพคุณ ขับเหงื่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ พอกหรือทา แก้ผื่นคัน แก้ปวดบวม
การนำไปใช้         ใช้ทาโดยการนำใบสดๆ ตำให้ละเอียดใช้ทาผิวแก้ผื่นคัน แมลงกัดต่อย และไล่ยุง  หรือนำมาทาบริเวณขมับบรรเทาอาการปวดหัว
                                ใช้ใบสดต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการบิดหรือท้องร่วง หรืนำใบสดมาโขลกให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้า รับประทานแก้ปวดท้อง และช่วยขับลม หรือรับประทานสดๆช่วยระงับกลิ่นปาก
                                สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยนำไปใช้ในการทำ “สุคนธบำบัด (Aromatherapy)” ซึ่งจะส่งผลต่อระบบประสาท และระบบฮอร์โมน มีส่วนช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

ที่มา

1. จิราภรณ์ บุราคร และ เรือนแก้ว ประพฤติ. (2555). ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน 7 ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก ปีที่ 10: 11-22

2. Pakdeechote, P., Kukongviriyapan, U., Berkban, W., Prachaney, P., Kukongviriyapan, V., & Nakmareong, S. (2011). Mentha cordifolia extract inhibits the development of hypertension in L-NAME-induced hypertensive rats.J. Med. Plant Res., 5, 1175-1183.

3. Pakdeechote, P., Prachaney, P., Berkban, W., Kukongviriyapan, U., Kukongviriyapan, V., Khrisanapant, W., & Phirawatthakul, Y. (2014). Vascular and Antioxidant Effects of an Aqueous Mentha cordifolia Extract in Experimental N G-Nitro-l-arginine Methyl Ester-Induced Hypertension.Zeitschrift für Naturforschung. C, Journal of biosciences, 69(1-2), 35.

4. Villaseñor, I. M., & Sanchez, A. C. (2009). Menthalactone, a new analgesic from Mentha cordifolia Opiz. Leaves. Zeitschrift für Naturforschung. C, A journal of biosciences, 19(11), 809.

5. Villasenor, I. M., Aberion, D. P. S., & Angelada, J. S. (1997). Anticarcinogenicity and antiteratogenicity potential of the antimutagenic chloroform leaf extract from Mentha cordifolia Opiz. Philippine Journal of Science, 126.

6. Villaseñor, I. M., Echegoyen, D. E., & Angelada, J. S. (2002). A new antimutagen from< i> Mentha cordifolia</i> Opiz. Mutation Research/Genetic Toxicology and Environmental Mutagenesis, 515(1), 141-146.

7. KRAIVAPHAN, P. (2011). The Effectiveness of Kitchen Mint Lozenge in Reducing Oral Halitosis.

8. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. (2551). คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.puriku.com/download/herb/คู่มื่อการใช้สมุนไพรไทย-จีน.pdf

9. Today Health. บริโภคผักให้เป็นยา ตอนที่ 2 ใบกุยช่าย ตะไคร้ สะระแหน่ (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.todayhealth.org/food-health/อาหารเพื่อสุขภาพ/บริโภคผักให้เป็นยา-ตอนที่-2-ใบกุยช่าย-ตะไคร้-สะระแหน่.html

10. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข. ก้าวทันโลก: 9 ผักสวนครัวมากประโยชน์ (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/news_detail.php?cat=G&id=1