หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ดอกคำฝอย เพื่อสุขภาพ


ดอกคำฝอย(Safflower)

ชื่อวงศ์(Family name) : Compositae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
 
ที่มาภาพ: www.viverebotanicals.com

ดอกคำฝอยเป็นพืชที่นิยมเก็บเกี่ยวส่วนเมล็ดไปใช้สกัดน้ำมัน และดอกไปใช้ในการทำสี และประโยชน์ทางการแพทย์ 
ดอกคำฝอยเป็นพันธุ์พืชโบราณที่มีถิ่นกำเนิดจากแถบตะวันออกกลาง  ปัจจุบันมีการเพาะปลูกมากในประเทศอินเดีย แม็กซิโก เอธิโอเปีย และสหรัฐอเมริกา  ในอินเดียใช้ดอกคำฝอยในการผลิตน้ำมันพืชเพื่อใช้ภายในประเทศ ส่วนประเทศจีนนิยมนำดอกไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ(Ekin, 2005)

สีที่ได้จากดอกคำฝอยจะมีสีเหลืองแดงซึ่งเรียกว่า คาร์ทามิน(Carthamin) ในประเทศอียิปต์สมัยโบราณมีการนำสีจากดอกคำฝอยไปใช้ในการทำมัมมี่ ทั้งนี้มีการค้นพบเมล็ดดอกคำฝอยในศพมัมมีที่มีอายุกว่า 4000ปี(Ekin, 2005)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในดอกคำฝอย

สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์กลัยโคไซด์(Flavonid Glycoside) ได้แก่ คาร์ทามิน, ซาฟโฟลมิน(safflomin), ซาฟฟลอร์เยลโล่(safflor yellow), ไฮดรอกซีซาฟฟลอร์เยลโล่(hydroxysafflor yellow), ทิงค์ทอร์มีน(tinctormine), พรีคาร์ทามิน(precarthamin), แอนไฮโดรซาฟฟลอร์เยลโล่(anhydrosafflor yellow) และ คาร์ตอร์มิน(cartormin)(Yoon, et al., 2007)

สารในกลุ่มฟลาโวน เช่นลูทีโอลิน(luteolin) และอนุพันธ์(Asgarpanah and Kazemivash, 2013)

คุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรค

ต้านออกซิเดชั่น
สารสกัดด้วยน้ำจากกลีบดอกคำฝอยมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น(Yaginuma, et al., 1999) จับอนุมูลอิสระ และ สามารถปกป้องการทำลายส่วนต่างๆของร่างกายจากอนุมูลอิสระได้แก่
·        ปกป้องสมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ(Hiramatsu, et al., 2009)
·        ปกป้องเซลล์สร้างเนื้อกระดูก(osteoblast)(Choi, et al., 2010)
·        ปกป้องเยื้อบุเซลล์เม็ดเลือดแดง(Lu, et al., 2011)
·        ปกป้องตับ(Paramesha, et al., 2011)

เพิ่มประสิทธิภาพระบบการไหลเวียนของเลือด
มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดแดง เพิ่มการไหลเวียนเลือด และการนำออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื้อ และยั้งาสามารถยั้บยั้งการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงละลายลิ่มเลือดได้อีกด้วย(Emongor, 2010) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้สามารถมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการป้องกัน หรือรักษาโรคหัวใจ

สารสีคาร์ทามินที่พบในดอกคำฝอยมีคุณสมบัติในการลดความข้นเหนียวของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดคั่ง (Li, et al., 2009) เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก

ต้านอักเสบ บรรเทาปวด
สารสกัดด้วยน้ำจากกลีบดอกคำฝอยมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบโดยยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ และพรอสตาแกลนดินซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ(Wang, et al., 2011) 

พบคุณสมบัติต้านอักเสบในผู้ป่วยโรคหัวใจเฉียบพลัน(Wan-Qun, et al., 2011)นอกจากนี้ยังพบคุณสมบัติในการบรรเทาปวดซึ่งสามารถนำไปพัฒนาสารที่ใช้ในการลดอาการปวดเพื่อทดแทนมอร์ฟีน หรือยาแก้ปวดอื่นๆที่มีผลข้างเคียงต่างๆ(Asgarpanah and Kazemivash, 2013)

ลดคอลเลสเตอรอล
ลดระดับคอลเลสเตอรอลรวม และเพิ่มระดับคอลเลสเตอรอลชนิดดี(Arpornsuwan, et al., 2010)

ลดระดับน้ำตาลในเลือด
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำจากดอกคำฝอยมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปรักษาโรคเบาหวาน(Asgary, et al., 2012)

มีคุณสมบัติของเอสโตรเจนที่ได้จากพืช(phytoestrogen)
ดอกคำฝอยมีคุณสมบัติคล้ายฮอรโมนเอสโตรเจน(Zhao, et al., 2007) จึงนิยมใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับผู้หญิง เช่น ประจำเดือนมาไม่ปรกติ หรือใช้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
สำหรับการแพทย์แผนจีน ดอกคำฝอยมีฤทธิ์อุ่น ทำให้เลือดหมุนเวียน ใช้ในการแก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ หรือปวดประจำเดือน ระงับปวด กระจายเลือดคั่ง ลดบวด แก้ฟกช้ำ ช้ำใน เส้นเลือดหัวใจตีบ แน่นหน้าอก เป็นต้น
สำหรับการแพทย์แผนไทย ดอกคำฝอยมีรสหวานร้อน สรรพคุณ ขับระดู บำรุงโลหิต แก้ตกเลือด แก้ปวดในรอบเดือน บำรุง/ระงับประสาท บำรุงหัวใจ แก้ดีพิการ ขับเหงือ แก้ไข้ในเด็ก แก้ดีซ่าน แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัดน้ำมูกไหล

การใช้
ใช้ 3-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม (ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ และระมัดระวังในผู้ที่มีเลือดออกง่าย)
(กรมพัฒณาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551)

การศึกษาความเป็นพิษ
จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากดอกคำฝอยพบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(มงคล และคณะ, 2546)

ไม่พบการก่อให้เกิดการกลายพันธุ์(mutagenicity)(Junlatat and Sripanidkulchai, 2011)

ที่มา
  • Ekin, Z. (2005). Resurgence of safflower (Carthamus tinctorius L.) utilization: a global view. Journal of Agronomy, 4(2), 83-87.
  • Yoon, H. R., Han, H. G., & Paik, Y. S. (2007). Flavonoid glycosides with antioxidant activity from the petals of Carthamus tinctorius. Carbon, 1(2), 3.
  • Asgarpanah, J., & Kazemivash, N. (2013). Phytochemistry, pharmacology and medicinal properties of Carthamus tinctorius L. Chinese journal of integrative medicine, 19(2), 153-159.
  • Yaginuma, S., & Igarashi, K. (1999). Protective effects of hot water extracts from safflower (Carthamus tinctorius L.) petals on paraquat-induced oxidative stress in rats. Food Science and Technology Research, 5(2), 164-167.
  • Hiramatsu, M., Takahashi, T., Komatsu, M., Kido, T., & Kasahara, Y. (2009). Antioxidant and neuroprotective activities of Mogami-benibana (safflower, Carthamus tinctorius Linne). Neurochemical research, 34(4), 795-805.
  • Choi, E. M., Kim, G. H., & Lee, Y. S. (2010). Carthamus tinctorius flower extract prevents H2O2induced dysfunction and oxidative damage in osteoblastic MC3T3E1 cells. Phytotherapy Research, 24(7), 1037-1041.
  • Lu, Z., Yuankai, W., & Liwei, Z. (2011). Protective effect of safflor yellow on damage of erythrocyte membrane by oxygen free radicals. Journal of Shanxi College of Traditional Chinese Medicine, 4, 007.
  • Paramesha, M., Ramesh, C. K., Krishna, V., Kumar, Y. S. R., & Parvathi, K. M. (2011). Hepatoprotective and in vitro antioxidant effect of Carthamus tinctorious L, var Annigeri-2-, an oil-yielding crop, against CCl4-induced liver injury in rats. Pharmacognosy magazine, 7(28), 289.
  • Emongor, V. (2010). Safflower (Carthamus tinctorius L.) the underutilized and neglected crop: A review. Asian J. Plant Sci, 9, 299-306.
  • Li, H. X., Han, S. Y., Wang, X. W., Ma, X., Zhang, K., Wang, L., ... & Tu, P. F. (2009). Effect of the carthamins yellow from< i> Carthamus tinctorius</i> L. on hemorheological disorders of blood stasis in rats. Food and Chemical Toxicology, 47(8), 1797-1802.
  • Wang, C. C., Choy, C. S., Liu, Y. H., Cheah, K. P., Li, J. S., Wang, J. T. J., ... & Hu, C. M. (2011). Protective effect of dried safflower petal aqueous extract and its main constituent, carthamus yellow, against lipopolysaccharideinduced inflammation in RAW264. 7 macrophages. Journal of the Science of Food and Agriculture, 91(2), 218-225.
  • WAN-QUN, X. U., LEI, S., HUA-LI, G. U., & SHANG-LANG, C. A. I. (2011). EFFECT OF SAFFLOR YELLOW ON INFLAMMATARY FACTORS IN PATIENTS WITH ACUTE CORONARY SYNDROME. Acta Academiae Medicinae Qingdao Universitatis, 5, 019.
  • Arpornsuwan, T., Changsri, K., Roytrakul, S., & Punjanon, T. (2010). The effects of the extracts from Carthamus tinctorius L. on gene expression related to cholesterol metabolism in rats. Songklanakarin J Sci Techno12010, 32, 129-136.
  • Asgary, S., Rahimi, P., Mahzouni, P., & Madani, H. (2012). Antidiabetic effect of hydroalcoholic extract of Carthamus tinctorius L. in alloxan-induced diabetic rats. Journal of research in medical sciences: the official journal of Isfahan University of Medical Sciences, 17(4), 386.
  • Zhao, P. W., Wang, D. W., Niu, J. Z., Wang, J. F., & Wang, L. Q. (2007). Evaluation on phytoestrogen effects of ten kinds of Chinese medicine including flos carthami]. Zhongguo Zhong yao za zhi= Zhongguo zhongyao zazhi= China journal of Chinese materia medica, 32(5), 436.
  • กรมพัฒณาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, (2551). ดอกคำฝอย. ใน คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน. (เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, บรรณาธิการ). หน้า 101-103. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิม องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
  • มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ). ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.
  • Junlatat J and Sripanidkulchai B,. (2011). SAFETY EVALUATION OF CARTHAMUS TINCTORIUS L. EXTRACT.  The 1st International Conference, Patient Safety: From Product to Patient Care and Translation Research, Ubon Ratchathani, 20-21 July 2011. pp 85