หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หญ้าลิ้นงู เพื่อ สุขภาพ

หญ้าลิ้นงู หรือ จุ่ยจี้เช่า (Diamond Flower)

ชื่อวงศ์              Rubiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์    Hedyotis corymbasa  Lamk.
Photo CR: http://up-your-toot.blogspot.com/

หญ้าลิ้นงูจริงๆแล้วจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มักขึ้นในภูมิอากาศเขตร้อนถึงร้อนชื้นของประเทศในแถบอัฟริกา อเมริกา แคริบเบียน เอเชีย ออสเตรเลีย และแปซิฟิก และเนื่องจากมันเป็นวัชพืชหญ้าลิ้นงูจึงไม่เป็นที่ต้องการในหลายๆพื้นที่  แต่สำหรับในภูมิภาคเอเชียนั้นหญ้าลิ้นงูถือเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ


องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในหญ้าลิ้นงู (1,2,3,4,5)


อิริดอยกูลโคไซด์ (iridoid glucoside) ได้แก่ Geniposide และ Asperuloside เป็นต้น
ลิกแนน ได้แก่ (+)-lyoniresinol-3α-O-β-D-glucopyranoside
ไตรเตอร์พินอยด์ ได้แก่ 3β-Acetylaleuritolic acid, Ursolic acid และ Oleanolic acid
กรดฟินอลิก ได้แก่ Salicylic acid
ไฟโตสเตอรอล ได้แก่ β-sitosteryl-3-O-β-D-glucopyranoside, chondrillasterol, gamma sitosterolและ 22,23-dihydrochondrillasterol
อนุพันธ์ของเปปไทด์ ได้แก่ Aurantiamide acetate

คุณสมบัติที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรค


ปกป้องตับ

Ursolic ที่พบในหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอลที่ทดสอบในหนูทดลองได้ (4)
จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการทำลายของสารเคมีต่างๆได้แก่ Perchloroethylene, Carbon tetrachloride and D-Galactosamine โดยพบว่าคุณสมบัติในการปกป้องตับของสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูนั้นมีความใกล้เคียงกับยา Sylimarin (5)

ต้านจุลชีพ(4,5)
ต้านแบคทีเรียได้ทั้งแกรม + และแกรม- และมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้หลายสายพันธุ์
ต้านยีสต์ และรา ได้แก่ ยีสต์แคนดิดา และราแอสเปอร์จิลัส
ต้านโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้มาเลเรียจึงมีการประยุกต์ไปใช้ในการรักษาไข้มาเลเรีย

ต้านอักเสบ(2)
มีคุณสมบัติในการยับยั้งการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

ต้านมะเร็ง(5)
จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต้านนม

ต้านแผลในกระเพาะอาหาร(5)
บรรเทาการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพริน โดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยา lansoprazole

บรรเทาอาการปวด(5)
จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดได้

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ(2,5)


หญ้าลิ้นงูจะมีฤทธิ์เย็นโดยการนำไปใช้ในแต่ละประเทศนั้นส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์คล้ายๆกัน คือใช้สำหรับการลดไข้ ขจัดสารพิษ ปกป้องตับ และฆ่าพยาธิ  นอกจากนั้นยังใช้ในการรักษาบำบัดอาการหรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่น ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย โรคบิด และท้องผูก  และยังมีการใช้ในการแก้พิษงู และแมลงป่อง โดยการตำให้ละเอียดแล้วโปะลงบนแผล

เนื่องจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ ต้านจุลชีพและโปรโตซัว  จึงมีการใช้ทั้งภายในและภายนอกในโรคที่มีอาการอักเสบ และติดเชื้อต่าง เช่น ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ คางทูม ปอดบวม ไข้มาเลเรีย โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และฆ่าพยาธิเป็นต้น

มีการนำไปใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณของประเทศแถบเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ และประเทศไทยเป็นต้น ในจีนใช้รักษาเนื้องอกบางชนิด คนอินเดียใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้นต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อน(Heartburn)  และใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบโดยต้มทั้งต้นเอาน้ำกิน คนฟิลิปินส์ต้มเอาน้ำกินเพื่อใช้รักษาโรคกระเพาะ ส่วนคนอินโดนีเซียต้มเอาน้ำกินเพื่อใช้รักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

การนำไปใช้         ใช้หญ้าลิ้นงูแห้งปริมาณ 15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม


ที่มา

  1. Chainakul, S., Anan, K., Tambunchong, C., & Picha, P. (2010). องค์ประกอบ ทาง เคมี และ ความ เป็น พิษ ต่อ เซลล์ ของ หญ้า ลิ้น งู (CHEMICAL CONSTITUENTS AND CYTOTOXIC ACTIVITY OF HEDYOTIS CORYMBOSA LAMK).Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), 2(3), 80-88.
  2. Global Information Hub On Integrated Medicine. (2010). Hydyotis Corymbosa (Online). Available: http://www.globinmed.com/index.php?option=com_content&view=article&id=79230: hedyotis-corymbosa&catid=199&Itemid=139 [2014, June 2]
  3. Noiarsa, P., Ruchirawat, S., Otsuka, H., & Kanchanapoom, T. (2008). Chemical constituents from Oldenlandia corymbosa L. of Thai origin. Journal of natural medicines, 62(2), 249-250.
  4. Sultana, T., Rashid, M. A., Ali, M. A., & Mahmood, S. F. (2010). Hepatoprotective and Antibacterial Activity of Ursolic Acid Extracted from Hedyotis corymbos a L. Bangladesh Journal of Scientific and Industrial Research, 45(1), 27-34.
  5. Sivapraksam, SSK., Karunakaran, K., Subburaya, U., KapPusamy, S., & TS, S. (2014). A Review on Phytochemical and Pharmacological Profile of Hedyoti corymbosa Linn. Int. J. Pharm. Sci. Rev. Res., 26(1), 320-324

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น