หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มะขามป้อมสมุนไพรป้องกันโรค

มะขามป้อม(Amla หรือ Indian Gooseberry)

ชื่อวงศ์(Family name) : Euphorbiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn., Emblica officinalis Gaertn.

มะขามป้อมเป็นพืชที่ปลูกกันมากในเขตร้อน และบริเวณเหนือหรือใต้เขตร้อนของประเทศจีน, อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน, อุสเบกิสถาน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย และแถบชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของมาเลเซีย(1,2)

มะขามป้อมนิยมนำไปใช้ในตำรับยาแผนโบราณ เช่น การแพทย์สมุนไพรแผนจีน, การแพทย์ทิเบต และการแพทย์อายุรเวท(1) ทั้งนี้ในความเชื่อเก่าแก่ที่เป็นตำนานของชาวอินเดียโบราณเชื่อว่ามะขามป้อมเป็นต้นไม้ต้นแรกที่เกิดขึ้นในจักรวาล(2)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในผลมะขามป้อมโพลีฟีนอล(Polyphenol)


  • กลุ่มแทนนิน(Tannin) ซึ่งเป็นชนิดไฮโดรไลซ์แทนนิน(Hydrolizable tannins)ได้แก่ Geraniin, Isocorilagin, Emblicanin, Pedunculagin และ Puniglucolin(1,3)
  •  กลุ่มฟลาโวนอล(Flavonols) ได้แก่ Quercetin-3-b-D-glucopyranoside, Kaempferol-3-b-D-glucopyranoside, Quercetin, Kaempferol และ Rutin(1,4)
  • กรดฟินอลิก(Phenolic acid) ได้แก่ Gallic acid(4), Chebulagic acid, Ellagic acid และ Chlorogenic acid(4)
  • วิตามินซี(Ascorbic acid)(4)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการออกซิเดชั่นของไขมัน, ลดระดับไขมันในเลือด, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านจุลชีพ, ต้านอักเสบ, ยับยั้งเนื้องอก, ต้านการกลายพันธุ์, ต้านมะเร็ง, ปกป้องเซลล์, ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แสดงออกอย่างเหมาะสม และทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้น, บรรเทาอาการปวด, ลดไข้, บรรเทาอาการไอ, ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆในอาหาร และช่วยในการขับสารพิษ(1,2,3,4,5)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

โรคมะเร็ง

กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง และเซลล์มะเร็งของมนุษย์ในหลอดทดลอง(2,5)
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง(2,5)
ลดการกระตุ้นของสารก่อเนื้องอกตับในหนูทดลอง และลดการกระตุ้นของสารก่อมะเร็งในหนู(2,5)
ยับยั้งการกลายพันธ์ของดีเอ็นเอของสัตว์ทดลอง(2,5)
ลดความพิษของยารักษาโรคมะเร็งไซโคลฟอสฟาไมด์(Cyclophosphamide) ในสัตว์ทดลอง (2)

โรคเบาหวาน

ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง(2)
ชะลอการเป็นโรคต้อกระจกเนื่องจากเบาหวานในหนูทดลอง(2)

โรคตับ

ปกป้องตับจากสารพิษต่างๆ เช่น ป้องกันพิษของอัลกอฮอล์ต่อตับในหนูทดลอง ลดการเกิดผังพืดที่ตับเนื่องจากคาร์บอนเตตระคลอไรด์ในเนื้อเยื้อตับของหนูในหลอดทดลองรวมทั้งในตัวของหนูทดลอง และลดการทำลายเนื้อเยื้อตับเนื่องจากยาต้านวัณโรค(2)

โรคหัวใจ

ต้านการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นของกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในหนูทดลอง(2)

โรคกระเพาะ

ลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารในหนูทดลอง(2)
ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลอง(2)

ความจำเสื่อม

ช่วยในการฟื้นฟูความจำในหนูชรา(2)

การนำไปใช้ในการรักษาแผนโบราณ

ยาสมานแผล(Astringent), ยาบำรุงหัวใจ, ยาขับปัสสาวะ, ยาระบาย, ยาบำรุงตับ, ยาเย็น(Refrigerant), ยาบำรุงธาตุ(Stomachic), ยาบำรุงกำลัง(Restorative), ยาฟอกเลือด(Alterative), ยาลดไข้(Antipyretic), ยาต้านอักเสบ, ยาช่วยย่อย, ยาบำรุงสมองและสุขาภาพจิต, ยาบำรุงปอด(3,5)
ใช้ในการรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆได้แก่ โลหิตจาง, ภาวะกรดในกระเพาะมากเกิน, แผลในกระเพาะอาหาร, กรดไหลย้อน, ถ่ายท้อง, ท้องผูก, ตาอักเสบ, ความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ, ตกขาว, ดีซ่าน, บำรุงประสาทและคลายกังวล, โรคตับ, การไอ, โรคหอบ, หลอดลมอักเสบ, ประจำเดือนมาไม่ปรกติ, โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ(3,5)

ที่มา


  1. Liu, Xiaoli, et al. "Identification of phenolics in the fruit of emblica (< i> Phyllanthus emblica</i> L.) and their antioxidant activities." Food chemistry109.4 (2008): 909-915.
  2. Khan, K. H. "Roles of Emblica officinalis in medicine-a review." Botany Research International 2.4 (2009): 218-228.
  3. Majeed, Muhammed, et al. "Ascorbic Acid and Tannins from Emblica officinalis Gaertn. Fruits A Revisit." Journal of agricultural and food chemistry 57.1 (2008): 220-225.
  4. Sawant, Laxman P. “Development and Validation of HPLC Method for Quantification of Phytoconstituents in Phyllanthus emblica.” J. Chem. Pharm. Res., 2011, 3(4):937-944
  5. Singh, Ekta, et al. "Phytochemistry, traditional uses and cancer chemopreventive activity of Amla (Phyllanthus emblica): the sustainer." Journal of Applied Pharmaceutical Science 2.1 (2011): 176-183.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น