หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมอพิเภกสมุนไพรป้องกันโรค


สมอพิเภก(Beleric Myrobalan หรือ Bastard Myrobalan)


ชื่อวงศ์(Family name) : Combretaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica Roxb.

เป็นพืชที่ปลูกมากในอินเดีย,ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในสมอพิเภก


ไตรเตอร์ปินอยด์(Triterpenoid) เช่น เบลเลอริคานิน(Bellericanin)(1)

ไฟโตสเตอรอล(Phytosterol) เช่น เบต้าไซโตสเตอรอล(β-sitosterol)(1)

กรดฟินอลิก เช่น กรดกัลโตแทนนิก(Gallto-tannic acid), กรดอัลลาจิก(Ellagic acid), กรดกัลลิก(Gallic acid)(1)

ลิกแนน(Lignan) เช่น เทอร์มิลิกแนน(termilignan),ธานนิลิกแนน(thanni lignin), อโนลิกแน(anolignan B1)(1)

ฟลาโวนอยด์ เช่น 7 hydroxy. 3, 4 (Methylenedioxy) flavones(1)

กลุ่มแทนนิน(Tannin) ที่มีกรดชิบูลาจินิก(Chebulagenic acid), เอทิลกัลเลท(Ethyl gallate), กรดอัลลาจิก(Ellagic acid), กัลลอยล์กลูโคส(galloyl glucose), ฟีนิลเล็มบลิน(phenyllemblin)(1)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย


ต้านอนุมูลอิสระ,ต้านจุลชีพ,ลดระดับคลอเรสเตอรอล และไขมันในเลือด,ลดระดับน้ำตาลในเลือด,กระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน,ลดความดันโลหิต,ขยายหลอดลม,ปกป้องตับ

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค


ท้องเสีย/ท้องร่วง


จากการทดลองในหนูทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งของน้ำและเกลือแร่จากลำไส้จึงช่วยลดอาการถ่ายท้อง และมีคุณสมบัติในการระงับอาการปวดเกร็งซึ่งช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องจากถ่ายท้อง(1,2)

โรคเบาหวาน


มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน และเพิ่มประสิทธิภาพของการต้านออกซิเดชั่นในหนูทดลอง(1)

หอบหืด


มีคุณสมบัติป้องกันการหดเกร็งของหลอดลมในหนูทดลอง(2)

โรคตับ


ปกป้องตับจากสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ในหนูทดลอง(1),ปกป้องตับจากภาวะเหล็กเกิน(iron overload)ในหนูทดลอง(3)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ


ในการแพทย์อายุรเวชสมอภิเภกจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาขับเสมหะ(expectorant) และมีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาบางตำรับที่ช่วยในการขับถ่าย

ผลสมอภิเภกมีฤทธิ์ฝาดสมาน, ช่วยย่อย, ขับพยาธิ, ระบายอ่อนๆ(Aperient), ขับเสมหะ, ระงับปวด(Anodyne), ห้ามเลือด(Stypic), ระงับประสาท, ระงับปวด, แก้คลื่นไส้ และฟื้นฟูเซลล์(Rejuvenating)(1)


ที่มา

1. Motamarri, N. S., Karthikeyan, M., Kannan, M., & Rajasekar, S. (2012). Terminalia belerica. Roxb-A Phytopharmacological Review. Int. J. Res. Pharma and Biomed Science, 3, 96-99.

2. Gilani, A. H., Khan, A. U., Ali, T., & Ajmal, S. (2008). Mechanisms underlying the antispasmodic and bronchodilatory properties of< i> Terminalia bellerica</i> fruit. Journal of ethnopharmacology, 116(3), 528-538.

3. Hazra, B., R. Sarkar and N. Mandal, 2012. Protection of Terminalia belerica Roxb. against iron overload induced liver toxicity: An account of its reducing and iron chelating capacity. Am. J. Pharmacol. Toxicol., 7: 109-122.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น