หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมอไทยสมุนไพรป้องกันโรค

สมอไทย(Haritaki หรือ Black Myrobalan)

ชื่อวงศ์(Family name) : Combretaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.

เป็นพืชที่นิยมขึ้นในบริเวณที่มีฝนตกเล็กน้อย(100-150 ซม./ปี) อากาศค่อนข้างเย็น(0-17oC) พบในประเทศเนปาล ศรีลังกา พม่า บังคลาเทศ อียิป อีหร่าน เตอร์กี ปากีสถาน ยูนาน ทิเบต อินเดีย และจีน(1)
สมอไทยเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยากว้างจึงนิยมมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณ โดยชาวทิเบตได้ขนานนามให้สมอไทยว่าเป็น “ราชาแห่งยา(King of medicine)”(1,2)

ชื่อสมอไทยตามภาษาสันสกฤตคือ ฮาริตากิ(Haritaki) ซึ่งสามารถตีเป็นความหมายได้ว่าพืชที่ปลูกในดินแดนแห่งเทพศิวะ และมีคุณสมบัติในการรักษาได้ทุกโรค(2)

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่พบในสมอไทย

กลุ่มแทนนิน(Tannin) พบมากถึง 32% ซึ่งเป็นชนิดไฮโดรไลซ์แทนนิน(Hydrolizable tannins) ที่มีกรดชิบูลินิก(Chebulinic acid), กรดชิบูลาจิก(Chebulagic acid), กรดกัลลิก(Gallic acid), คลอริลาจิน(Chlorilagin) และกรดอัลลาจิก(Ellagic acid) เป็นส่วนประกอบหลัก(1,2)
กรดฟินอลิก(Phenolic acid) ได้แก่ Gallic acid, Ellagic acid, Chebulinic acid, Chebulagic acid และ Chlorilagin(3)

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้านอนุมูลอิสระ,ต้านแบคทีเรีย,ต้านเชื้อรา,ต้านปรสิต,ต้านไวรัส,ต้านอักเสบ,ต้านการกลายพันธุ์,ป้องกัน และต้านมะเร็ง,ลดระดับน้ำตาลในเลือด,ลดระดับไขมันและคลอเรสเตอรอลในเลือด,ต้านภูมิแพ้ชนิดรุนแรง,ระงับปวด,ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร,ต้านภาวะชราภาพ,ปกป้องเซลล์จากรังสี,ปกป้องตับ,ปกป้องหัวใจ(1,2,3)

คุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรค

โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร

มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อเฮลิโคแบกเตอร์ ไพโลไร(Helicobacter pyroli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ, แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพราะอาหาร(1)
เพิ่มการหลั่งของเมือก และลดการหลังกรดในกระเพาะของหนูทดลองจึงช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร(1,3)

ท้องเสีย/ท้องร่วง

สามารถยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้(1)

ไข้ไทฟอยด์

มีฤทธิ์ต้านไข้ไทฟอย์ดในหนู(3)

โรคเอดส์

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรรัสเอดส์(1)

โรคเริม

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัสโรคเริม(1,3)

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส(โรคติดเชื้อ CMV)

มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัสโรคติดเชื้อ CMV(Cytomegalo Virus)(1,3)

โรคมะเร็ง

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญ และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งเช่น เซลล์มะเร็งเต้านม,มะเร็งกระดูก,มะเร็งลำไส้ใหญ่,มะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งต่อมลูกหมาก(1,3)
มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งโดยเข้าไปทำกับสารก่อมะเร็งต่างๆ(1)

โรคตับ

ปกป้องตับจากสารพิษต่างๆ รวมถึงพิษจากยาที่ใช้ในการรักษาโรค(1)

โรคเบาหวาน

มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลินในหลอดทดลอง(1,3)

โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

มีคุณสมบัติในการลดระดับฮิสตามีนที่เกิดจากการแพ้อย่างรุนแรง(1)

ภาวะชราภาพ

ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระโดยพบว่าป้องกันหดสั้นลงของธีโลเมีย(Telomere)ของดีเอ็นเอเนื่องจากความเครียดออกซิเดชั่นเนื่องจากภาวะชราภาพ ทำให้เซลล์มีอายุยืนยาวขึ้นอีก 40% จากการศึกษาในหลอดทดลอง(1)
ยับยั้งการเสื่อมของสภาพผิวเนื่องจากวัยชรา(1)

โรคหัวใจ

ป้องกันการเกิดหัวใจขาดเลือดเฉพาะส่วนในหนูทดลอง(1,3)
ลดระดับไขมัน และคลอเรสเตอรอลในเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดในสัตว์ทดลอง(1)

ฟันผุ

มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในช่องปาก(3)

การนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณ

สมอไทยจัดเป็นสมุนไพรที่สำคัญในลำดับต้นๆในการนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณในประเทศอินเดีย เช่น การแพทย์อายุรเวท, การแพทย์สิทธา และการแพทย์อูนานิ(Unani medicine)ของมุสลิม นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย และแอฟริกา(1)

สำหรับการแพทย์อายุรเวทนิยมใช้ในการรักษาโรคหอบหืด, ริดสีดวงทวาร, อาการเจ็บคอ, คลื่นไส้อาเจียน และโรคเก๋า ส่วนการแพทย์แผนไทยนิยมใช้ในการขับลม, สมานแผล และขับเสมหะ(1)  

ผลสมอไทยสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภายนอก และภายใน โดยถ้านำไปใช้ภายนอกจะมีคุณสมบัติในการสมานแผล, ลดบวม และทำความสะอาดแผล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในโรคผิวหนังต่างๆ นอกจากนี้น้ำมันจากผลสมอไทยสามารถนำไปช่วยรักษาแผลไฟใหม้ได้ มีคุณสมบัติในการต้านอักเสบจึงสามารถนำไปใช้กลั้วคอบรรเทาอาการเจ็บคอ และมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพจึงใช้บ้วนปากเพื่อป้องกันฟันผุได้(1)

ในการนำไปใช้ภายในใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร,เนื้องอก,ท้องมาน,ริดสีดวงทวาร,ตับและม้ามโต, ถ่ายพยาธิ และอาการท้องผูก(1)

ที่มา

  1. Gupta, Prakash Chandra. "Biological and pharmacological properties of Terminalia chebula retz.(Haritaki)–An overview." International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences 4 (2012): 62-68.
  2. Muhammad, Said, et al. "The morphology, extractions, chemical constituents and uses of Terminalia chebula: A review." J Med Plants Res 6.33 (2012): 4772-4775.
  3. Ashwini, S., Gajalakshmi, S., Mythili,A. And Sathiavelu.(2011). Terminalia chebula- A Pharmacological Review.Journal of pharmacy Research.4(9):2884-2887.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น